กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว

 ครอบครัวเป็นสถาบันขั้นพื้นฐานและเป็นสถาบันหลักของสังคม ครอบครัวจึงประกอบไปด้วย สามี ภรรยา บุตรและญาติ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวจึงเป็นกฏหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในครอบครัวหรือเครือญาติ ดังนั้น หลักกฏหมายที่ใช้โดยทั่วไปอาจนำมาใช้กับกฏหมายครอบครัวไม่ได้ กฏหมายครอบครัวจึงเป็นกฏหมายที่อ้างอิงหลักศีลธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีมากที่สุด เช่น เงื่อนไขเกี่ยวกับการหมั้น การสมรส การปฏิบัติต่อกันระหว่างสามีและภรรยา การปกครองบุตร ทรัพย์สินระหว่างสามีและภรรยา ตลอดถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมรดก เป็นต้น
1. การหมั้น ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว ได้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการหมั้นโดยสรุปได้ดังนี้การหมั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับผู้หญิง การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 บริบูรณ์แล้ว 
ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ กล่าวคือ เมื่อหมั้นกันแล้วฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรสด้วย อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องบังคับไม่ได้ แต่อาจฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายได้ 
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจะทำการสมรสได้ต่อเมื่อมีการหมั้นกันก่อน ฉะนั้นชายหญิงอาจทำการสมรสกันโดยไม่มีการหมั้นก็ได้ 
1.1 องหมั้น เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ถ้าฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย
1.2 สินสอด เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤิตการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ 

2. การสมรส การสมรสหมายถึง การที่ชายและหญิงสมัครใจเข้ามาอยู่กินกันฉันสามีภริยา ชั่วชีวิตโดยจะไม่เกี่ยวข้องทางชู้สาวกับบุคคลอื่นใดอีกซึ่งตามกฏหมายปัจจุบันนั้น กำหนดว่า การสมรสต้องมีการจดทะเบียนสมรสจึงจะมี ผลตามกฏหมาย 
เงื่อนไขการสมรส        การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ เช่น ชายหรือหญิงหรือทั้งสองคนอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ แต่มีความจำเป็นต้องทำการสมรสเพราะต้องเดินทางไปต่างประเทศในฐานะครอบครัวที่เป็นสามีภรรยากัน ศาลอาจเห็นสมควรอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนอายุครบ 17ด ปีบริบูรณ์ 
ข้อห้ามมิให้ทำการสมรส 
1. ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ 
2. ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา กรณีเช่นนี้ลูกพี่ลูกน้องแม้จะใช้ชื่อสกุลเดี่ยวกันก็อาจจะทำการสมรสกันได้ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติห้ามไว้ 
3. ชายหรือหญิงขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว 
4. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ การสมรสจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี การจดทะเบียนสมรส ตามปกติแล้วจะจด ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่เขนที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิเลาอยู่ 

3. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
สามีภรรยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู กันตามความสามารถและฐานะของตน ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ถ้าสามีภริยาได้ทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สินไว้เป็นพิเศษอย่างไรก็ให้เป็นไปตามนั้น ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็น “สินส่วนตัว” ย่อมเป็น “สินสมรส” 
สินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
    ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรสที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หาที่เป็นของหมั้นสินส่วนตัวของฝ่ายใดถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นซื้อทรัพย์สินอื่นมาหรือขายได้เป็นเงินมา ทรัพย์สินอื่น หรือเงินนั้นเป็นส่วนตัวของฝ่ายนั้น สินส่วนตัวของฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ 
สินสมรส ได้แก่ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
    ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบถว่าเป็นสินสมรสที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า