คดีจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

การจดทะเบียนรับรองบุตร ถือว่าเด็กซึ่งเกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้หญิงแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546)

การรับรองบุตร เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้สามารถทำได้ 3 วิธี (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547)

1. เมื่อบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง
2. บิดาจดทะเบียนรับรองว่าเด็กเป็นบุตร ซึ่งวิธีการนี้ไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็ก แต่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็ก โดยทั้งสองคนต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน

แต่หากบุคคลทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น มารดาถึงแก่ความตายแล้ว หรือกรณีเด็กไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น อายุยังน้อยเกินไป เป็นต้น กรณีนี้บิดาจะต้องมาร้องขอให้ศาลมีคำสั่งรับรองบุตร
3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรทั้งนี้เพื่อเป็นการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของบิดาและบุตร ตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป
ผลเสียการไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
1. เสียสิทธิต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดไว้
2. ไม่สามารถเรียกให้บิดาจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู เว้นแต่ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
3. หากบุคคลภายนอกทำละเมิดให้บิดาตาย บุตรไม่สามารถฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้
4. บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 คือบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว แต่ในความเป็นจริงมักจะถูกผู้จัดการมรดกปฏิเสธว่าไม่ใช่บุตร จึงต้องมีการพิสูจน์ความเป็นบุตรที่แท้จริง
5. หากบิดาเป็นข้าราชการ เมื่อบิดาตาย บุตรมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด แต่เมื่อบุตรไปขอรับเงินจากทางราชการ แต่ทางราชการจะปฏิเสธว่าต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้บุตรต้องมายื่นคำฟ้องต่อศาลก่อน ซึ่งจะทำให้ถูกทายาทเจ้ามรดกคัดค้านว่าไม่ใช่บุตร
6. การลดหย่อนภาษีเอกสารประกอบ มีดังนี้
1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (บิดา) และมารดา
2. ทะเบียนบ้านของผู้ร้อง, มารดา และบุตร
3. สูติบัตรของบุตร
4. ใบมรณบัตรของมารดาของบุตร (กรณีมารดาของเด็กเสียชีวิต)
5. ใบเปลี่ยนชื่อตัว / ชื่อสกุล (ถ้ามี) ของผู้ร้อง(บิดา), เด็ก หรือ มารดาของเด็ก
6. หนังสือให้ความยินยอมของมารดาของเด็กและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีมารดายังมีชีวิต)
7. ภาพถ่ายแสดงความสัมพันธ์ ของ บิดา, มารดา และเด็ก
8. หนังสือรับรองการเรียนของบุตร จากโรงเรียนเอกสารเพิ่มเติม (กรณีบิดาเป็นชาวต่างชาติ)
9. หนังสือเดินทาง(Passport) พร้อมแปลภาษาไทย
10. VISA แสดงการเข้า-ออกราชอาณาจักรระยะเวลาดำเนินการนับแต่วันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้อง ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องไม่น้อยกว่า 45 วัน และภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องแล้ว ผู้ร้องต้องนำบุตรและมารดาของบุตรไปให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการสถานพินิจ เพื่อรายงานข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อศาลประกอบในการพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร (ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว มาตรา 117) ในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องพร้อมมารดาผู้เยาว์ และผู้เยาว์ต้องมาศาล โดยต้องนำเอกสารพยานหลักฐานต่างๆ เพื่อทำการไต่สวนคำร้อง เมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ผู้ร้องสามารถขอคัดถ่ายคำสั่งศาล และขอหนังสือสำคัญแสดงคดีถึงที่สุด แล้วนำเอกสารดังกล่าว ไปดำเนินการจดทะเบียน ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอใดก็ได้หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องมาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อ
เมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้า เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การ แจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ต้องมีคำพิพากษาของศาล เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้

1. สำหรับกรณีมารดาเด็กและตัวเด็กเองไม่ได้ให้ความยินยอม บิดาต้องยื่นคำฟ้องทั้งมารดาและบุตรเป็นจำเลยในคดีเดียวกัน
2. กรณีบุตรฟ้องให้บิดารับตนเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย หากอายุเกิน 21 ปี บิดาสามารถปฏิเสธการรับเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้
3. การจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน กรณีไม่ได้ร้องขอต่อศาล เด็กที่สามารถให้ความยินยอมได้ ต้องอายุเกิน 8 ปีบริบูรณ์
4. การตรวจDNAต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าตัว ถ้าเจ้าตัวฝ่ายใดไม่ให้ความยินยอม กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่อีกฝ่ายกล่าวอ้าง
5. ภายหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนของศาล บิดาต้องนำเอกสารอันได้แก่ คำพิพากษาและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดไปประกอบการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่บุตรมีภูมิลำเนา จึงที่ถือว่าสมบูรณ์
6. เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1559)
7. สิทธิต่างๆของบุตร มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่เด็กเกิด โดยไม่คำนึงว่าเด็กจะกลายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่เมื่อไหร่ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557)
8. การให้ถ้อยคำต่อนักสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยา ณ สถานพินิจ บิดามารดาต้องแสดงหลักฐานต่างๆเช่นเดียวกับที่ต้องแสดงต่อศาล
9. บิดาสามารถเลือกยื่นคำร้องต่อศาลได้ทั้งภูมิลำเนาของตน หรือที่อยู่กินกันกับมารดาของบุตร
10. การจดทะเบียนรับรองบุตร จะสมบูรณ์เมื่อนำคำพิพากษาไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ(ใดก็ได้) พร้อมพยาน 2 คน
11. กรณีตรวจ DNA ต้องตรวจที่โรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น ค่าบริการคนละ 6,500 บาท
12. กรณีพ่อหรือแม่เป็นชาวต่างชาติ ไม่สามารถพูดและอ่านภาษาไทยได้ ต้องใช้ล่ามในการให้ถ้อยคำสถานพินิจและชั้นศาลด้วย

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า