วันลาของลูกจ้าง

นลาของลูกจ้าง มีรายละเอียดดังนี้

1 ลาป่วย

    ลูกจ้างมีสิทธิลาได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการทำงาน มิให้ถือเป็นวันลาป่วย แต่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน ตามมาตรา 32 โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน

2 ลาเพื่อทำหมัน

    ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด และต้องออกใบรับรอง ตามมาตรา 33 ได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่แพทย์วินิจฉัยให้หยุด

3 ลากิจธุระอันจำเป็น

    ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ตามมาตรา 34

4 ลาเพื่อรับราชการทหาร 

    ในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม ตามมาตรา 35 ได้ไม่เกินปีละ 60 วัน โดยได้รับค่าจ้าง

5 ลาเพื่อเข้ารับการอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถ

    เพื่อเพิ่มประสิทธิภิพาในการทำงานของลูกจ้าง โดยมีโครงการหรือหลักศูตรและกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนและชัดเจน พร้อมแสดงเหตุที่ลาและหลักฐาน(ถ้ามี) ให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งนายจ้างจะไม่อนุญาตก็ได้ หากในปีนั้น ลูกจ้างเคยได้รับอนุญาตให้ลามาแล้ว 30 วัน หรือ 3 ครั้งขึ้นไป ตามมาตรา 36 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 5

6 ลาคลอดบุตร

    ได้ไม่เกิน 90 วัน ตามมาตรา 41 โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน

หลักกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วย ตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งของสถานพยาบาลของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ

    ในกรณีที่นายจ้างจัดแพทย์ไว้ ให้แพทย์นั้นเป็นผู้ออกใบรับรอง เว้นแต่ลูกจ้างไม่สามารถให้แพทย์นั้นตรวจได้

    วันที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน และวันลาเพื่อคลอดบุตร ตามมาตรา 41 มิให้ถือเป็นวันลาป่วยตามมาตรานี้

มาตรา 33 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลา เพื่อทำหมันได้ และมีสิทธิลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนดและออกใบรับรอง

มาตรา 34 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลา เพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

มาตรา 35 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลา เพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

มาตรา 36 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลา เพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 41 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน

    วันลาตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย

มาตรา 42 ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งมาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ และให้นายจ้างพิจารณาเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้แก่ลูกจ้างนั้น

มาตรา 43 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์

มาตรา 57 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วย ตามมาตรา 32 เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน

    ในกรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาเพื่อทำหมันตามมาตรา 33 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลานั้นด้วย

มาตรา 58 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลา เพื่อรับราชการทหารตามมาตรา 35 เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 60 วัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า