ทนายความ คือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าความ* แก้ต่างคู่ความในคดี นับได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการยุติธรรม โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นทนายความอิสระ โดยหากมีประชาชน บริษัทหรือองค์กรใดๆ เกิดไม่ได้รับความยุติธรรมขึ้น ทนายจะมีหน้าที่ว่าความเพื่อแก้ต่างในคดีนั้น ๆ ให้ตามข้อกฎหมาย
ทนายจะมีหน้าที่คล้ายคลึงกับพนักงานอัยการ ความแตกต่าง คือ พนักงานอัยการเป็นทนายความของแผ่นดิน ซึ่งได้รับเงินเดือนจากรัฐ แต่ทนายความจะได้รับเงินจากการว่าจ้างจากบุคคลหรือองค์กรทั่วไปในการว่าความหรือการเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
คุณสมบัติ การเป็นทนาย
1. มีสัญชาติไทย
2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรืออนุปริญญาทางนิติศาสตร์จากสถาบันที่สภาทนายความอนุมัติ
3. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีและไม่เป็นผู้ได้กระทำการใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
4. ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
5. ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
อาชีพทนายความ
1. สภาพแวดล้อมในการทำงาน
สถานที่ทำงาน
งานของทนายความมีทั้งงานในสำนักงาน ที่ต้องตรวจสอบและเตรียมเอกสาร โดยสถานที่จะเหมือนกับสำนักงานทั่วไป คือมีโต๊ะประจำของแต่ละบุคคล ซึ่งสำนักงานทนายความแต่ละที่จะมีจำนวนคนไม่มากนัก นอกเหนือจากนั้นยังมีงานที่ต้องออกไปติดต่อประสานงานนอกสำนักงาน เช่น ศาล สถานีตำรวจ และสถานที่อื่นๆ เพื่อปฏิบัติภาระกิจทนายความตามที่ได้รับมอบหมาย ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่การทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องปกติในอาชีพนี้ อาจจะต้องมาทำงานในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด อยู่เสมอ
สภาพการทำงาน
การปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ ผู้ทำงานเกี่ยวกับกฎหมาย ให้คำปรึกษาและให้บริการทางกฎหมายอื่น ๆ รวมถึงการปฏิบัติงานทั่ว ๆไปเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น การจัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย การว่าความคดีอาญา และคดีแพ่ง ให้คำแนะนำแก่ลูกความเกี่ยวกับปัญหาบุคคล และธุรกิจในแง่ของกฎหมาย และทำแทนลูกความในเรื่องต่าง ๆ ดำเนินการฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลในนามของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง ซึ่งงานส่วนใหญ่จะเกี่ยวของกับผลประโยชน์ของลูกความจึงมีความกดดันและต้องทำให้ลูกความได้รับผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
ประเภทของลูกค้า
อาชีพทนายความ ถือเป็นอาชีพที่สำคัญอีกอาชีพหนึ่ง ซึ่งจะมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจ และบุคคล เพราะอาชีพนี้จะมีความชำนาญทางกฎหมาย ความต้องการของอาชีพนี้มีสูงขึ้นเรื่อยๆโดยดูได้จากคดีที่เกิดขึ้นที่กรมตำรวจ ล้วนแต่ต้องใช้ทนายความเข้ามาช่วยในคดีทั้งสิ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทนายความมีคดีว่าความมากขึ้นเนื่องจากจะมีคดีฟ้องร้องในเรื่องการค้างชำระหนี้มากขึ้น แต่รายได้จากการว่าความจะไม่ค่อยมากนักเนื่องจากฝ่ายจำเลยไม่สามารถชำระค่าเสียหายได้ จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจอย่างไร ความต้องการแรงงานในอาชีพมีอยู่ตลอด ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญความเก่ง และชื่อเสียงของทนายความแต่ละคนด้วย นอกจากนี้ทนายความอิสระบางคนอาจจะรับทำงานสืบสวนให้บุคคลที่ต้องการให้สืบสวนหรือติดตามสิ่งของ หรือบุคคลที่ต้องการค้นหา เพราะฉะนั้นลูกค้ามีความหลากหลายมาก การจ้างทนายไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีฐานะร่ำรวยเสมอไป แต่จะเป็นคนที่ประสบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับกฎหมาย และต้องการได้รับคำปรึกษาจากเรา ซึ่งก็จะได้พบเจอกับลูกค้าในทุกระดับ
อาชีพนี้ต้องทำงานร่วมกับอาชีพ/ตำแหน่งงานใดบ้าง
อาชีพทนายความนั้นต้องทำงานร่วมกับอาชีพที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการยุติธรรมอันประกอบด้วย ศาล อัยการ ตำรวจ ทหาร ราชทัณฑ์ ผู้พิพากษา ข้าราชกาลฝ่ายกฎหมาย นิติกรตามบริษัท เจ้าหน้าสินเชื่อ เจ้าหน้าเร่งรัดหนี้ นักสืบ ซึ่งทุกอาชีพที่กล่าวมานี้คืออาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมายทั้งสิ้น แต่จะแล้วแต่รูปแบบของงานว่าเป็นคดีความแบบใด และต้องติดต่อประสานงานกับอาชีพใดเพื่อให้คดีความนั้นบรรลุผลสำเร็จไปได้ด้วยดี
2. คุณลักษณะของงาน
เป้าหมายของงาน/โจทย์ใหญ่ของงาน/ความท้าทายของงาน
เป้าหมายของงานในอาชีพทนาย คือการทำตามความต้องการของลูกความ และบรรลุเป้าที่ตั้งไว้ของคดีนั้นๆ ความท้าทายอยู่ที่ความแตกต่างและความยากง่ายของแต่ละคดี ซึ่งมีความกดดันแต่ต่างกัน แต่ทุกๆงานไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่เราก็ต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ บางคดีต้องใช้เวลาในการสืบค้นข้อมูลนานหลายปีก็ต้องมีความรับผิดชอบที่จะตามคดีนั้นๆอย่างเสมอเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการทำงาน
ปฏิบัติงานทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย
ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย และดำเนินการแทนคู่ความทั้งทางอาญา และแพ่ง
ตรวจสอบเรื่องราวต่าง ๆ และค้นตัวบทกฎหมายที่จะนำมาใช้โดยการศึกษาประมวล กฎหมาย พระราช กฤษฎีกา เทศบัญญัติ คำพิพากษาของศาลสูงที่มีมาแล้ว และกฎข้อ-บังคับที่ตราขึ้นไว้
ให้คำแนะนำแก่ลูกความถึงสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมาย
ทำการแทนลูกความในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย และค้นหาบรรพต่าง ๆ ในประมวลกฎหมาย ว่าความ และดำเนินกระบวนการพิจารณาใด ๆ ในศาลแทนคู่ความทั้งในคดีแพ่ง และคดีอาญา มีบทบาทในการสร้าง และรักษาความเป็นธรรมให้กับสังคม มีบทบาทในการคุ้มครอง ดูแลรักษาผลประโยชน์ของบุคคล และองค์กรธุรกิจเอกชนต่าง ๆ มีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำ ในการดำเนินการต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามระเบียบ และกฎหมาย มีบทบาทเป็นคนกลางเพื่อไกล่เกลี่ยความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ด้วย อาจเชี่ยวชาญในงานกฎหมายสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ อาจเป็นทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมายประจำองค์กร บรรษัท ห้างหุ้นส่วน บริษัท นิติบุคคล คณะบุคคล หรือเอกชน
ความก้าวหน้าของสายอาชีพ
อาชีพทนายความ นอกจากจะประกอบอาชีพเป็นทนายความแล้วยังสามารถเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของหน่วยงาน เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายของหน่วยงาน เป็นพนักงานอัยการ และก้าวไปสู่การเป็นผู้พิพากษาได้ และนอกจากนี้อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่มีความชำนาญทางกฎหมายเป็นพิเศษ จึงเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับอาชีพอื่นได้มากมาย เช่น นักการเมือง ทหารตำรวจ เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สิน เจ้าหน้าที่การเงิน หรือครู อาจารย์ ทนายความที่มีความสามารถ และมีความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศอย่างดี อาจได้รับการว่าจ้างให้เป็นทนายความ ว่าความในต่างประเทศ หรืออาจเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการเจรจาทางด้านกฎหมาย หรือสิทธิประโยชน์ของประเทศได้อีกด้วย
บุคลิก นิสัยของคนที่เหมาะจะทำอาชีพนี้
-ต้องมีใจรักในอาชีพ เพราะเป็นงานที่ต้องมีความเสียสละเพื่อผู้อื่น
-มีการใฝ่หาความรู้รอบตัวอยู่เสมอ
-มีวาทศิลป์ในการพูด
-ต้องเป็นคนซื่อตรง
-มีความสนใจในด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม
-ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศิลธรรมอันดี
-ไม่เป็นผู้ได้กระทำการใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
-ชอบท่องจำ เพราะกฎหมายมีมาตรต่าง ๆ มากมายที่ต้องนำไปใช้ในการทำคดีความ
-ต้องซื่อตรงต่อลูกความ ผู้ร่วมงานอำนวยการความยุติธรรม ชุมชน ผู้ร่วมสำนักงาน และตนเอง
3. คุณค่าและผลตอบแทน
ผลตอบแทน
อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่มีคนนิยมทำกันมาก เพราะเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ดี และเป็นอาชีพที่มีเกียรติ โดยผู้ที่เป็นทนายความสามารถทำงานมีเงินเดือนประจำ โดยมีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 – 30,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความสามารถประสบการณ์ และประเภทของหน่วยงานที่ทำงาน และจะสามารถได้รับเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นเมื่อได้รับใบอนุญาติการเป็นทนายความ หรือประกอบอาชีพทนายความอิสระรับว่าความทั่วไป โดยอาจได้รับค่าตอบแทนจากการว่าความ ร้อยละ 10 – 20 ของทุนทรัพย์ในคดีนั้น ๆ หรืออาจจะได้รับค่าตอบแทนตามแต่จะตกลงกับลูกความ ซึ่งอาจจะได้รับค่าว่าความ 20,000-100,000 บาทขึ้นไปแล้วแต่งานที่รับ และขนาดของทุน-ทรัพย์ในแต่ละคดี
คุณค่าของอาชีพนี้ต่อคนรอบข้างและสังคม
ในสังคมปัจจุบันมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมายอยู่ตลอดเวลา เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถปรับความเข้าใจกันได้ ก็ต้องมีคนกลางเข้ามาเพื่อให้เรื่องราวนั้น ๆ คลี่คลายไปได้ด้วยดีโดยมีหลักเกณฑ์เดียวกันคือเรื่องของกฎหมายและความยุติธรรม โดยเรื่องต่าง ๆ เหล่านั้นอาจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ของสังคม การทำงานของทนายความไม่ต่างจากหมอ คือมีหน้าที่ช่วยเหลือคนในสังคมที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่มีความรู้ ความสามารถ จึงต้องมีทนายมาช่วยให้บุคคลนั้น ๆ ได้รับความยุติธรรมมากที่สุดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
4. ทักษะ ความรู้ ความสามารถ
มีความสนใจในด้านกฎหมาย กระบวนการยุติ-ธรรม และต้องชอบที่จะท่องจำ เพราะวิชานิติศาสตร์เป็นการเรียนที่ต้องท่องจำมาก เช่น กฎระเบียบ มาตราต่าง ๆ เป็นต้น
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ต้องสอบเข้ารับการคัดเลือก หรือเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาคณะนิติศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์ ซึ่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาซึ่ง สภาทนายความเห็นว่าสถาบันนั้นมีมาตรฐานการศึกษาที่ผู้ได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้ และเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าต้องเข้ารับการอบรมจากสภาทนายความ โดยอบรมภาคทฤษฎีหลักสูตร 6 เดือน และอบรมภาคปฏิบัติ หลักสูตร 6 เดือน จึงสมัครเข้าสอบขอ ใบอนุญาตว่าความผ่านการทดสอบจะได้รับใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักรจากสภาทนายความ
มีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ประมวลกฎหมายทั้งหมด รู้ว่าเราต้องใช้กฎหมายไหนมารองรับการกระทำของลูกความ หรือโต้แย้งกับฝั่งตรงข้าม มีสติและการรับมือกับสถาณการณ์เฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
5. เครื่องมือที่ใช้ในอาชีพนั้น
หนังสือประมวลกฎหมาย เป็นสิ่งที่ทนายความมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านและศึกษาให้ละเอียดเพราะเป็นสิ่งที่ใช้ประกอบการทำงาน ในหนังสือนั้นจะประกอบด้วยกฎหมายที่แบ่งเป็นมาตราต่าง ๆ ที่เราจำเป็นต้องจำให้แม่นเพราะเมื่อเราอยู่ชั้นศาลแล้วจะต้องยกกฎหมายเหล่านั้นมาต่อสู้คดีความ ทนายความบางคนสามารถจำได้ทุกย่อหน้าและเว้นวรรค เพื่อไม่ให้มีช่องว่างทางกฎหมายที่จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถนำโอกาสนี้มาเอาเปรียบเราได้
1.คดีแพ่ง
- คดีกู้ยืมเงิน
- ห้างหุ้นส่วน/บริษัท
- ค้ำประกัน
- คดีเกี่ยวกับสัญญา
- ขับไล่
- คดีบังคับจำนอง
- คดีล้มละลาย
- คดีแรงงาน
- คดีภาษีอากร
- คดีเกี่ยวกับการมรดก
2. คดีอาญา
- ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
- ความผิดเกี่ยวกับเพศ
- ความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่ราชการ
- ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
- เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีอาญา
- ความผิดฐานปล้นทรัพย์
- ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
- ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
- ความผิดฐานลักทรัพย์
- คดีหมิ่นประมาท
- คดีโกงเจ้าหนี้
- คดียักยอกทรัพย์
- คดีฉ้อโกงทรัพย์
- คดีความผิดต่อชีวิต
- คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
- คดียาเสพติดให้โทษ
3. คดีล้มละลาย
- กรณีที่ต้องพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย
- วิธีพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
- การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
- ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ทัน
- การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ธรรมดา
- การขอรับชำระหนี้ คดีฟื้นฟูกิจการ
- เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
- การขอฟื้นฟูกิจการ
4. คดีแรงงาน
- ความปลอดภัยในการทำงาน
- การจ่ายค่าชดเชย
- สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
- วันลาของลูกจ้าง
- ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา
- วันและเวลาทำงาน
- วันหยุดงาน
- เงินประกันเข้าทำงาน
- การจ้างแรงงานหญิง
- การจ้างแรงงานเด็ก