บทบาทและหน้าที่ของทนายความในกระบวนการยุติธรรม
ทนายความคือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าความ แก้ต่างคู่ความในคดี นับได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการยุติธรรม โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นทนายความอิสระ โดยหากมีประชาชน บริษัทหรือองค์กรใดๆ เกิดไม่ได้รับความยุติธรรมขึ้น ทนายจะมีหน้าที่ว่าความเพื่อแก้ต่างในคดีนั้น ๆ ให้ตามข้อกฎหมาย
ทนายจะมีหน้าที่คล้ายคลึงกับพนักงานอัยการ ความแตกต่าง คือ พนักงานอัยการเป็นทนายความของแผ่นดิน ซึ่งได้รับเงินเดือนจากรัฐ แต่ทนายความจะได้รับเงินจากการว่าจ้างจากบุคคลหรือองค์กรทั่วไปในการว่าความหรือการเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
ลักษณะของอาชีพทนายความ
1. ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย และดำเนินการแทนคู่ความทั้งทางอาญาและแพ่งตรวจสอบเรื่องราวต่างๆ และค้นตัวบทกฎหมายที่จะนำมาใช้โดยการศึกษาประมวลกฎหมายพระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ คำพิพากษาของศาลสูงที่มีมาแล้ว และกฎข้อบังคับที่ตราขึ้นไว้
2. ให้คำแนะนำแก่ลูกความถึงสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมายทำการแทนลูกความในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย และค้นหาบรรพต่างๆ ในประมวลกฎหมายว่าความและดำเนินกระบวนการ
3. ดำเนินการอันเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาใดๆในศาลแทนคู่ความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา มีบทบาทในการสร้างและรักษาความเป็นธรรมให้กับสังคมมีบทบาทในการคุ้มครอง ดูแลรักษาผลประโยชน์ของบุคคลและองค์กรธุรกิจเอกชนต่าง ๆ
4. มีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำ ในการดำเนินการต่างๆให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย มีบทบาทเป็นคนกลางเพื่อไกล่เกลี่ยความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ด้วยอาจเชี่ยวชาญในงานกฎหมายสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะอาจเป็นทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายประจำองค์กร ห้างหุ้นส่วน บริษัท นิติบุคคล คณะบุคคล หรือเอกชน สภาพการจ้างงาน อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่มีคนนิยมทำกันมาก เพราะเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ดีและเป็นอาชีพที่มีเกียรติ