ประเภทของการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ

ประเภทของการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ

กรณีตั๋วรุ่น
สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ จะทำการเปิดรับสมัครอบรมวิชาว่าความปีละ 2 รุ่น ซึ่งจะเปิดรับสมัครช่วงกลางปีกับช่วงปลายปี โดยการสอบข้อเขียนจะแบ่งออกเป็น  2 ภาค คือ ภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ภาคทฤษฎี การสอบออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อสอบปรนัย จำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน และ ข้อสอบอัตนัย จำนวน 4-6 ข้อ 80 คะแนน รวมเป็น 100 คะแนนเต็ม ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ 50 คะแนน ขึ้นไปถือว่าสอบผ่านข้อเขียนภาคทฤษฎี   
          ผู้สอบผ่านภาคทฤษฎีต้องไปฝึกงานภาคปฏิบัติ 6 เดือน ในสำนักงานทนายความต่าง ๆ ที่มีทนายความผู้มีใบอนุญาตให้เป็นทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 ปี เซ็นรับรองว่าได้ผ่านการฝึกภาคปฏิบัติจริงและมีระบบประเมินการฝึกภาคปฏิบัติโดยทนายความผู้นั้นด้วย เมื่อได้รับการเซ็นรับรองแล้วถึงจะมีสิทธิสอบข้อเขียนภาคปฏิบัติต่อไป

ภาคปฏิบัติ การสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อสอบปรนัย  และ ข้อสอบอัตนัย  โดยให้   เขียน    ในแบบพิมพ์ศาล รวมเป็น 100 คะแนนเต็ม ข้อสอบก็จะเป็นการให้ตัวอย่างข้อเท็จจริง     มา 1 เรื่อง แล้วให้ผู้เข้าสอบ      ทำการเขียนคำฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง หรือหนังสือบอก   กล่าวต่าง ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เข้าสอบก็        จะต้องเขียนคำฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง   ต่าง ๆ โดยต้องเลือกใช้แบบฟอร์มให้ถูกต้อง เสมือนกับที่จะยื่นต่อศาลจริง ๆ จากนั้น        ข้อสอบก็จะ          ถูกส่งไปให้คณะกรรมการผู้มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญ จากสถาบัน        ฝึกอบรมวิชา    ว่าความเป็นผู้ทำการตรวจข้อสอบ ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ 50 คะแนน ขึ้นไปจึงจะถือว่าสอบผ่าน และถึง        จะมีสิทธิไปลงทะเบียนเพื่อสอบปากเปล่าในขั้นตอนต่อไป

กรณีตั๋วปี
การสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ กรณีผู้ฝึกงานในสำนักงานทนายความไม่น้อยกว่า 1 ปี มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
   (1) บุคคลที่จะสมัครเป็นทนายความจะต้องไปติดต่อขอรับแบบแจ้งการฝึกงานในสำนักงาน 1 ปี จากสภาทนายความ แล้วนำไปขอฝึกงานกับทนายความผู้ที่มีใบอนุญาตมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 ปี ลงชื่อรับรองการฝึกงานให้ด้วย
    (2) เมื่อฝึกงานครบกำหนด 1 ปี ถึงจะมีสิทธิลงทะเบียนสอบข้อเขียนได้ สำหรับการสอบข้อเขียนเนื้อหาจะแบ่งการให้คะแนนเป็น 2 ส่วน คือ ข้อสอบปรนัย และ ข้อสอบอัตนัย โดยให้เขียนในแบบพิมพ์ศาลเสมือนจริง รวม 100 คะแนน ลักษณะข้อสอบและการตรวจข้อสอบจะเหมือนกับการสอบภาคปฏิบัติ สำหรับผู้ที่สอบได้คะแนน
ตั้งแต่ 50 คะแนน ขึ้นไปจึงถือว่าสอบผ่าน และถึงจะมีสิทธิไปลงทะเบียนเพื่อสอบปากเปล่าในขั้นตอนต่อไป

Season ๔

การสมัครเป็นสามัญหรือวิสามัญสมาชิกกับเนติบัณฑิตยสภา

แนวทางการสมัคร วิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา การที่จะขึ้นทะเบียนเป็นทนายความได้นั้นเราต้องเป็นวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาก่อน ซึ่งเนติบัณฑิตยสภาจะมีการแบ่งประเภท ออกเป็น ๒ ประเภทด้วยกัน คือสามัญสมาชิก และวิสามัญสมาชิก ซึ่งสามัญสมาชิกหมายถึงผู้ที่สอบไล่เป็นเนติบัณฑิตไทยได้แล้ว ส่วนผู้ที่จะสมัครวิสามัญสมาชิกได้นั้นแบ่งออกเป็นอีก 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก คือ นักศึกษาที่จบการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตร์จาก 5 มหาวิทยาลัย คือ
๑. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
          ๒. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  
๓. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  ๔. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๕. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ตามข้อบังคับของเนติบัณฑิตยสภา นักศึกษาที่จบ 5 มหาวิทยาลัยนี้สามารถขอใบรับรองการจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไปสมัครวิสามัญสมาชิกได้เลย หรือปัจจุบันสามารถสมัครเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (สามัญสมาชิก / สมาชิกวิสามัญ) ผ่านระบบออนไลน์ได้แล้วที่ สมาชิกเนติบัณฑิตยสภา (thethaibar.or.th)

กลุ่มที่สอง คือผู้ที่ได้รับใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมวิชาว่าความ จากสภาทนายความ ซึ่งก็ต้องเป็น ผู้ที่จบอนุปริญญาด้านนิติศาสตร์หรือ ผู้ที่จบนิติศาสตร์บัณฑิตหลังจากจบการศึกษาแล้วหรือหลังจากได้รับใบประกาศนียบัตรจากสภาทนายความแล้วสามารถนำใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมวิชาว่าความไปสมัครวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาได้เลย หรือสามารถสมัครเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (สามัญสมาชิก / สมาชิกวิสามัญ) ผ่านระบบออนไลน์ได้เช่นเดียวกัน สมาชิกเนติบัณฑิตยสภา (thethaibar.or.th)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า