ล้มละลาย คือ

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด กระบวนพิจารณาตั้งแต่ขอให้ล้มละลายจนถึงปลดจากล้มละลาย: การขอให้ล้มละลายและการสั่งพิทักษ์ทรัพย์

มาตรา 7 ลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวอาจถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายได้ ถ้าลูกหนี้นั้นมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรหรือประกอบธุระกิจในราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย หรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น
มาตรา 8 ถ้ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้เกิดขึ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(1) ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์แห่งเจ้าหนี้ทั้งหลายของตน ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
(2) ถ้าลูกหนี้โอนหรือส่งมอบทรัพย์สินของตนไปโดยการแสดงเจตนาลวง หรือโดยการฉ้อฉล ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
(3) ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้น ซึ่งถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะต้องถือว่าเป็นการให้เปรียบ ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
(4) ถ้าลูกหนี้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
ก. ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอกราชอาณาจักร
ข. ไปเสียจากเคหะสถานที่เคยอยู่ หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหะสถาน หรือหลบไป หรือวิธีอื่น หรือปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ
ค. ยักย้ายทรัพย์ไปให้พ้นอำนาจศาล
ง. ยอมตนให้ต้องคำพิพากษาซึ่งบังคับให้ชำระเงินซึ่งตนไม่ควรต้องชำระ
(5) ถ้าลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี หรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้
(6) ถ้าลูกหนี้แถลงต่อศาลในคดีใด ๆ ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
(7) ถ้าลูกหนี้แจ้งให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดของตนทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
(8) ถ้าลูกหนี้เสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(9) ถ้าลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
มาตรา 9 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 10 เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และ
(2) ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท หรือเป็นหนี้เจ้าหนี้หลายคน ซึ่งเข้าชื่อกันเป็นโจทก์เป็นจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท และ
(3) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม

บุคคลล้มละลาย คือ

การเป็นบุคคลล้มละลาย มาจากสาเหตุอะไร?

การเป็นบุคคลล้มละลายนั้นมีสาเหตุจากการที่เรามีหนี้สินมาก และไม่สามารถชำระคืนกับเจ้าหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย โดยการจะถูกฟ้องล้มละลายนั้นมีสาเหตุมาจาก

  • เป็นบุคคลธรรมดา – ที่มีหนี้สินเกิน 1 ล้านบาท
  • เป็นนิติบุคคล – ที่มีหนี้เกิน 2 ล้านบาท
  • เป็นผู้ที่เข้าข่ายว่า “มีหนี้สินล้นพ้นตัว” หรือ “ไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้”
  • การโดนฟ้องล้มละลายนั้นมีโอกาสเกิดกับทุกคนหากว่ามียอดหนี้สูงเกินกว่าที่พระราชบัญญัติล้มละลาย ได้กำหนดไว้ และพระราชบัญญัติล้มละลายก็ไม่ได้จำกัดว่า ผู้ที่ล้มละลายจะต้องเป็นบุคคลประเภทใด ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลประเภทใดก็สามารถล้มละลายได้เช่นกัน

การเป็นบุคคลล้มละลาย มีผลอย่างไรบ้าง?

การเป็นบุคคลล้มละลายจะมีผลทำให้เราไม่สามารถทำนิติกรรม นิติกรรมสัญญา ใดๆ ทั้งสิ้นได้ รวมถึงธุรกรรมการเงินต่างๆ  เช่น เปิดบัญชีธนาคาร เป็นต้น และยังส่งผลทำให้เราไม่สามารถดำรงตำแหน่งในบริษัทหรือห้างร้านต่างๆได้อีกด้วย ซึ่งในส่วนของการดำรงตำแหน่งนี้ หากมีความจำเป็นก็จะต้องได้รับอนุญาติจากศาลเสียก่อน จึงจะสามารถดำรงตำแหน่งได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า