ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีบุคคลเป็นหุ้นส่วนประเภทเดียวกัน คือ “หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด” โดยหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดโดยไม่จำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด (รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้น) และ อีกประเภท คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดโดยไม่จำกัด)
ห้างหุ้นส่วนสามัญ จำกัด
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนต้องดำเนินการจดกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยข้อมูลในการจดทะเบียนประกอบด้วย จำนวนเงินลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ของกิจการ การแต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ สถานที่ตั้งของกิจการและสาขา(ถ้ามี) เป็นต้น
เมื่อจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมสรรพากรด้วย
สำหรับชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ถ้าจะนำชื่อไปใช้ในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย หรือ เอกสารอย่างอื่นที่ใช้ในธุรกิจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีคำว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ประกอบชื่อ ถ้าใช้เป็นอักษรต่างประเทศ ต้องใช้คำที่มีความหมายว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ประกอบชื่อ เช่น ถ้าใช้ชื่อเป็นอักษรภาษาอังกฤษต้องมีคำ “Limited Partnership” ประกอบชื่อ เป็นต้น
ข้อควรพิจารณาในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
- ประหยัดค่าใช้จ่าย ในกรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ต้องยื่นเอกสารในการจดทะเบียนกับพัฒนาธุรกิจการค้า
- ทางกฏหมายไม่ได้กำหนัดลักษณะการแบ่งปันผลกำไรเหมือนบริษัทจำกัด ขึ้นอยู่กับหุ้นส่วนตกลงกันในการแบ่งปันผลกำไรได้โดยอิสระ
- เจ้าของกิจการสามารถบริหารกิจการห้างหุ้นส่วนได้ด้วยตัวเอง