ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์

ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ มาตรา 336

         มาตรา 336 บัญญัติว่า ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษ…
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษ…
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษ…
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษ…

   องค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก
1. ผู้ใด คือ บุคคลผู้กระทำความผิด
2. ลักทรัพย์
3.โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า คือ การลักทรัพย์ต่อหน้าเจ้าของทรัพย์ในระยะประชิดและเอาทรัพย์ไปขณะที่เจ้าทรัพย์เห็นการเอาไปและผู้ต้องหารู้ว่าเจ้าทรัพย์เห็นว่าตนเอาไป เพราะหากแม้เจ้าของทรัพย์จะเห็นว่ามีคนเอาไปแต่อยู่ห่างจากตัวทรัพย์ก็ไม่ใช่การวิ่งราวทรัพย์  ตาม

 คำพิพากษาฎีกาที่ 10344/2550
จำเลยใช้อุบายเข้าไปขอซื้อสินค้า เมื่อ น. ไปหยิบสินค้าและเผลอ พวกของจำเลยลงจากรถลักบุหรี่ไปจากร้านค้าของผู้เสียหาย ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในร้านตัดผมฟากถนนตรงข้ามจะเห็นเหตุการณ์ ห่างออกไป 20 เมตร การกระทำดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเอาไปต่อหน้าผู้เสียหาย การกระทำของพวกของจำเลยไม่เป็นการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์

องค์ประกอบภายใน
1. เจตนา ผู้กระทำต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด และผู้กระทำย่อมเล็งเห็นผลหรือประสงค์ต่อผล
2. เจตนาพิเศษ : โดยทุจริต คือ เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
– วรรค 4 ถึงแก่ความตาย
วรรค 2 ถึง วรรค 4 จะเป็นเหตุฉกรรจ์ที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า