ความผิดฐานปล้นทรัพย์

 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340

มาตรา 340  ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าในการปล้นทรัพย์ ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนสี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ถ้าการปล้นทรัพย์ได้กระทำโดยแสดงความทารุณจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ใช้ปืนยิง ใช้วัตถุระเบิด หรือกระทำทรมาน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
ถ้าการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต

ความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นก็คือความผิดฐานชิงทรัพย์นั่นเอง แต่มีข้อแตกต่างกันที่จำนวนผู้กระทำเพราะการปล้นทรัพย์นั้นต้องร่วมกันกระทำตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นสามารถแยกองค์ประกอบออกมาได้ดั่งนี้
1. ต้องมีการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่น
2. ต้องมี การใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่ว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย
3. ต้องมีการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป
4. ต้องมีเจตนาที่จะเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นโดยทุจริตโดยมีเหตุจูงใจเช่นเดียวกันกับการชิงทรัพย์
จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบในข้อ (1) (2) (4) นั้นเป็นองค์กอบที่เหมือนกันกับในมาตรา 339 แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันคือจำนวนตัวผู้กระทำผิดโดย คำว่าร่วมกันกระทำความผิดนั้นก็คือการเป็นตัวการเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 83 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นหากท่านระบุความผิดในคำฟ้องว่าเป็นการปล้นทรัพย์แต่ตัวผู้กระทำกลับมีเพียง 2 คนศาลก็จะสามารถลงโทษตัวผู้กระทำได้เพียงความผิดฐานชิงทรัพย์ 

คำพิพากษาฎีกา 1002/2502
หากในการลงมือปล้นทรัพย์นั้นแม้ คนหนึ่งจะมิได้เข้ามาช่วยชิงทรัพย์แต่ทำหน้าที่ขับรถรอหลบหนีก็ถือว่าเป็นการปล้นทรัพย์ 

คำพิพากษาฎีกา 1600/2511
หรือแม้ร่วมกันปล้น 7 แต่แยกกันเข้าไปชิงทรัพย์บ้านละ 2 คนก็ยังถือเป็นปล้นทรัพย์อย

คำพิพากษาฎีกา 1919/2514)
หากผู้กระทำผิดมี3คนแล้วหนึ่งในผู้กระทำความผิดไม่ได้อยู่ใกล้มากพอที่จะช่วยเหลือก็จะไม่มีความผิดในฐานปล้นทรัพย์หากแต่เป็นการชิงทรัพย์ 

คำพิพากษาฎีกาที่ 74/2555) แต่หากการเอาไปซึ่งทรัพย์นั้นมิได้เอาไปโดยทุจริตคือเจตนาเอาไปโดยมิชอบก็จะไม่เป็นความผิดตามตรานี้

                แต่เช่นเดียวกันกับในความผิดฐานชิงทรัพย์มาตรา 340 นั้นได้มีการระบุเหตุเพิ่มโทษเอาไว้ในวรรคที่ 2 เป็นต้นไปโดยสรุปออกมาได้ดั่งนี้
1. การปล้นทรัพย์นั้นเป็นเหตุทำให้คนตาย
2. การปล้นทรัพย์เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส
3. การปล้นทรัพย์นั้นกระทำด้วยความทารุณ
4. ถ้าในการปล้นทรัพย์นั้นมีผู้กระทำพกอาวุธติดตัวไปด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ 4398/2555 
การปล้นทรัพย์หากคนใดคนหนึ่งพกอาวุธเข้าไปในการปล้นทรัพย์ด้วยโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าผู้กระทำความผิดทุกคนรู้หรือไม่ว่าพวกของตนพกอาวุธไปด้วยเนื่องจากเป็นจุดประสงค์ของกฎหมายที่จะลงโทษผู้กระทำทุกคนเพราะการพกอาวุธไปในการปล้นผู้กระทำอาจใช้อาวุธนั้นทำร้ายผู้เสียหายได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 10915/2558
ความตายนั้นต้องเป็นการตายในทางข้อเท็จจริงหากไม่พบศพหรือไม่มีหลักฐานว่าผู้เสียหายตายแล้วก็จะไม่สามารถเพิ่มโทษได้  

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า