ทรัพย์สิน หนี้สิน สามีภริยา

สินส่วนตัว ได้แก่

1 ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
2 ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามสมควรแก่ฐานะ เครื่องมือ เครื่อใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
3 ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หา
4 ในกรณีที่สามีหรือภริยาได้รับรางวัลจากการกระทำสิ่งใดหรือจากการประกวดชิงรางวัล
5 ทรัพย์ที่เป็นของหมั้น เป็นสินส่วนตัวของภริยา
6 ของแทนสินส่วนตัว

สินสมรส

1 ทรัพย์สินที่ได้มระหว่างสมรส
2 ทรัพย์สินทีคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือ แต่หากเจ้ามรดกหรือผู้ให้ระบุไว้ในยพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ ระบุว่าเป็นสินสมรส
3 ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

หนี้สินมี 2 ประเภท

1 หนี้ส่วนตัว คือ หนี้ที่มีมาก่อนจดทะเบียนสมรส ซึ่งคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดชอบเอง
2 หนี้ร่วม คือ หนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างจดทะเบียนสมรส ทั้งสามีภริยาต้องร่วมกันรับผิดชอบ

หนี้ร่วม คือ หนี้ที่สามีภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส นับตั้งแต่จดทะเบียนสมรส สามีภริยาต้องร่วมรับผิดชอบใน หนี้สิน ร่วมกัน

หนี้ร่วม ต้องชำระหนี้จากสินสมรส และสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่ายแม้เจ้าหนี้จะฟ้องบังคับคดีแค่คนเดียว ก็สามารถยึดสินสมรสได้ทั้งหมด คู่สมรสอีกฝ่ายจะขอกันส่วนไม่ได้ แต่จะยึดส่วนตัวส่วนตองของคู่สมรสที่ไม่ได้ฟ้องมาด้วยไม่ได้

กรณีที่สามีภริยาเป็นหนี้ต่อกันเอง ทางกฎหมายไม่สามารถฟ้องร้องเรียหนี้สินต่อกันได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471

มาตรา 1471 สินส่วนตัว ได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา 1474สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

มาตรา 1488 ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ที่ก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรส ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น

มาตรา 1489 ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย

มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส ดังต่อไปนี้

(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2734/2545
จำเลยที่ 1 นำเงินที่กู้มาได้ไปใช้ในการซ่อมแซมบ้านป้า เพราะป้าดูแลจำเลยที่ 1มาตั้งแต่เล็กรวมทั้งดูแลบุตรของจำเลยที่ 1 ด้วย การนำเงินกู้ไปซ่อมแซมบ้านของป้าก็เพื่อประโยชน์และความผาสุกของบุตรทั้งสามคนของจำเลยทั้งสอง กรณีจึงเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1)จึงเป็นหนี้ร่วมที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2537
ขณะที่จำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยที่ 1กับผู้ร้องได้แยกกันอยู่ และจำเลยที่ 1 ไม่ได้นำเงินสินเชื่อที่ได้รับจากโจทก์ไปใช้อุปการะเลี้ยงดูผู้ร้อง หนี้ที่จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว จึงไม่ใช่หนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอกันส่วนจากเงินที่ขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้กึ่งหนึ่งในฐานะคู่สมรส ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้กันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้ผู้ร้องแล้ว ตราบใดที่คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย คำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมมีผลผูกพันโจทก์กับผู้ร้องนับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่ศาลชั้นต้นให้แจ้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้กันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นการชอบแล้ว

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า