คดีร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

ทนายความคดีแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๑๗๑๓

การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก

เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาท ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายมีทรัพย์สิน จำนวนมากตกทอดแก่ทายาท อาจจะเป็นทายาทโดยธรรม หรือ โดยพินัยกรรม ในกรณีที่เจ้ามรดกมีทรัพย์สินซึ่งมีทะเบียนเป็นโฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3ทะเบียนอาวุธปืน ทะเบียนรถยนต์ ซึ่งทรัพย์เหล่านี้ในการจัดการมรดก เจ้าพนักงานจะไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สิน เหล่านั้น หากไม่มีการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการตามกฎหมายเสียก่อนโดยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ราษฎรจำนวนมาก ได้มายื่นคำร้องขอความช่วยเหลือต่อสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) สำนักงานอัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับทรัพย์สินเหล่านั้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรือ อยู่นอกราชอาณาเขต
หรือเป็นผู้เยาว์
(2) เมื่อผู้จัดการมรดก หรือ ทายาทไม่สามารถ หรือ ไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือ มีเหตุขัดข้องในการจัดการ
หรือในการแบ่งปันมรดก
(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรม ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรมและถ้าไม่มีข้อกำหนด
พินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึ่งถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะ
เห็นสมควร

มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริต หรือ บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
(3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
เหตุในการยื่น
(1) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ทายาทอาจเสียไปซึ่ง
สิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือ กฎหมายอื่น
(2) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1602 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา 62 แห่งประมวล
กฎหมายนี้มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาทกรณีแรกเป็นกรณีที่เจ้ามรดกได้ถึงแก่ความตายโดยธรรมชาติคือ
หัวใจหยุดเต้นและสมองไม่ทำงาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 15
เขตอำนาจศาล

ในการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดมรดกถือเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 จัตวา (ที่แก้ไขใหม่ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12 พ.ศ.2534) งบัญญัติว่า “คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ใน เขตศาลในขณะถึงแก่ความตายในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดก อยู่ในเขตศาล
ดังนั้น ตามกฎหมายดังกล่าวในการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่ เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ในขณะถึงแก่ความตายเท่านั้นแต่ถ้าขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาญาจักรการยื่นคำร้องให้ยื่นต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาลนั้น

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า