ผู้จัดการมรดกคือ

มาตรา ๑๗๑๓  ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
(๒) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
(๓) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ

               การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

» ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดกจริงๆ หรือผู้รับพินัยกรรม
» ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เป็นต้น » พนักงานอัยการ

คุณสมบัติผู้จัดการมรดก
1. บรรลุนิติภาวะ อายุ 20 ปีบริบูรณ์
2. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ 3 ไม่เป็นคนล้มละลาย

มรดก ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิด รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆของผู้ตาย ซึ่งผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ถึงแก่ความตาย เว้นแต่ว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
ผู้จัดการมรดก มีที่มา 2 ทาง : ตามพินัยกรรมระบุไว้ หรือโดยคำสั่งศาล

ทายาทโดยธรรม มี 6 ลำดับ
1. ผู้สืบสันดาน รวมทั้งบุตรที่บิดาได้รับรองโดยพฤติการณ์
2. บิดามารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4 พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน
5 ปู่ ย่า ตา ยาย
6 ลุง ป้า น้า อา
สำหรับสามีภริยา ต้องจดทะเบียนสมรสเท่านั้น

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า