คดีอาญาคือ คดีที่เกี่ยวกับการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่า เป็นความผิดและมีโทษทางอาญา
ขั้นตอนและกระบวนการดำเนินคดีอาญา
1.1 การดำเนินคดีอาญาโดยราษฎร เริ่มจากเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ราษฎรซึ่งเป็นผู้เสียหาย ก็จะเริ่มต้นด้วยการร้องทุกข์ต่อพนักงานฝ่ายสืบสวน/สอบสวน หรือผู้เสียหายอาจเลือกฟ้องคดีเอง ก็ได้ กรณีฟ้องคดีเองนั้น ผู้เสียหายสามารถแต่งตั้งทนายความเพื่อให้ดำเนินการร่างคำฟ้องและฟ้องคดีต่อศาลได้โดยตรง ขั้นตอนต่อจากนั้นก็จะเป็นกระบวนการดำเนินคดีในชั้นศาลต่อไป แต่หากผู้เสียหายเลือกที่จะเริ่มต้นด้วยการร้องทุกข์อาจร้องต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ จากนั้นเจ้าพนักงานนั้นก็จะจัดทำบันทึกคำร้องทุกข์ แล้วพนักงานสอบสวนก็จะเริ่มทำการสอบสวนและสรุปสำนวนเสนออัยการเพื่อสั่งคดี อันนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลต่อไป
1.2 การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ แยกได้เป็น 2 ประเภท คือ คดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว และคดีอาญาแผ่นคดี ซึ่งคดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว เช่น ความผิดฐานฉ้อโกง ยักยอก หรือหมิ่นประมาท รัฐไม่สามารถเริ่มคดีได้เอง การเริ่มดำเนินคดีจะต้องมีการร้องทุกข์จากผู้เสียหายก่อน จากนั้นพนักงานสอบสวนจึงจะมีอำนาจสอบสวน และอัยการจึงจะมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาล
แต่ถ้าเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน รัฐสามารถดำเนินคดีได้เองโดยลำพัง ไม่ว่าจะมีคำร้องทุกข์ กล่าวโทษ จากบุคคลใดหรือไม่ก็ตาม โดยพนักงานสอบสวนสามารถเริ่มทำการสอบสวนได้เอง ทั้งนี้ โดยอาศัยอำนาจจากบทบัญญัติ มาตรา 121 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ในการดำเนินคดีอาญาในชั้นนี้ก็จะมีบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิของผู้ต้องหา และอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ เช่น บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามหมายเรียกและหมายอาญา การจับกุม การขัง และการค้น รวมถึงบทบัญญัติเรื่องอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและขั้นตอนรวมทั้งวิธีการสอบสวน
- ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
- ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา
- ความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่ราชการ
- ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
- เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีอาญา
- ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
- ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
- ความผิดฐานลักทรัพย์
- คดีหมิ่นประมาท
- คดีโกงเจ้าหนี้
- ความผิดฐานยักยอกทรัพย์
- คดีฉ้อโกงทรัพย์
- คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
- ความผิดอาญาแผ่นดิน
- ความผิดอาญาแผ่นดินคือ
- ทนายความ คือ …