ค้ำประกัน

สัญญาค้ำประกัน

  • เป็นสัญญาที่มีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 11
  • เป็นสัญญาอุปกรณ์ ซึ่งจะต้องมีสัญญาประธานหรือมูลหนี้หลักอยู่ก่อน เช่น สัญญาค้ำประกันในหนี้เงินกู้ , สัญญาค้ำประกันการชำระค่าสินค้า สัญญาค้ำประกันค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด หรือสัญญาค้ำประกัน การก่อสร้างของผู้รับจ้าง เป็นต้น
  • เป็นนิติกรรมสองฝ่าย โดยเจ้าหนี้แสดงเจตนารับให้ค้ำประกัน ส่วนผู้ค้ำประกันแสดงเจตนาขอเข้าค้ำประกัน การชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน เพราะฝ่ายเจ้าหนี้ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตอบแทนผู้ค้ำประกัน ส่วนผู้ค้ำประกันจะมีหน้าที่ชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ต่อเมื่อ ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดไม่ชำระหนี้ก่อน
  • สัญญาค้ำประกันต้องมีการทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้เป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้อง บังคับคดีกันไม่ได้ ตามมาตรา 680 วรรคสอง ซึ่งส่วนใหญ่ในการทำสัญญาหลักหรือสัญญาประธานมักจะใส่ข้อ ผูกพันเรื่องการค้ำประกันเข้าไปพร้อมกันด้วยอยู่แล้ว และให้ลูกหนี้ชั้นต้น กับผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อไว้ใน สัญญานั้นด้วย เช่น สัญญากู้ยืมเงินและค้ำประกันการกู้ยืมเงินในฉบับเดียวกัน เป็นต้น
  • เมื่อลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตามมาตรา 686 แต่ผู้ค้ำ ประกันอาจใช้สิทธิเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกให้ลูกหนี้ชั้นต้นชำระหนี้ก่อนได้ ตามมาตรา 688 – 690 เช่น กรณีเจ้า หนี้มีทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ในฐานะทรัพย์ที่จำนองหรือจำนำไว้ผู้ค้ำประกันก็ขอให้เจ้าหนี้บังคับกับทรัพย์สินดัง กล่าวก่อนก็ได้ เป็นต้น เว้นแต่ ผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ชั้นต้นในฐานะอย่างลูกหนี้ร่วม มาตรา 691
  • เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ชั้นต้นไปแล้ว สามารถจะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ได้ และมีสิทธิ เข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้ได้ด้วย เป็นต้น ลูกหนี้ชั้นต้นได้จำนำทรัพย์ของตนเป็นประกัน แก่เจ้าหนี้ไว้ ต่อมาผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนไป ผู้ค้ำประกันก็จะได้สิทธิเหนือทรัพย์ที่จำนำนั้นต่อจากเจ้าหนี้ หากต่อมาภายหน้าไม่อาจไล่เบี้ยลูกหนี้ชั้นต้นได้ ผู้ค้ำประกันก็บังคับเอากับทรัพย์ที่จำนำนั้นได้ทันที เป็นต้น
  • เจ้าหนี้มีสิทธิอื่นๆ เหนือลูกหนี้ชั้นต้นด้วย เช่น เป็นเป็นผู้รับจำนอง , ผู้รับจำนำ หรือเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ อื่นที่ลูกหนี้ชั้นต้นได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้แต่ก่อนหรือขณะทำสัญญาค้ำประกันเพื่อการชำระหนี้ประธานนั้น ถ้าเจ้า หนี้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิต่างๆ ดังกล่าว ได้ทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ที่จะต้องชำระแทนลูกหนี้ชั้นต้นเพียงเท่าที่ตนจะต้อง เสียหายที่ไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธินั้น เพราะการกระทำของเจ้าหนี้ เช่น กรณีเจ้าหนี้ได้รับจำนำทรัพย์สินของลูก หนี้ชั้นต้นไว้ และมีการทำสัญญาค้ำประกัน ต่อมาเจ้าหนี้คืนทรัพย์สินที่จำนำคืนแก่ลูกหนี้ ทำให้สัญญาจำนำ ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ชั้นต้นระงับ เป็นเหตุให้ผุ้ค้ำประกันต้องเสียหายเพราะเมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูก หนี้ไป ผู้ค้ำประกันจะอาจรับช่วงสิืทธิเข้าเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนำต่อจากเจ้าหนี้ได้ ดังนั้น ทรัพย์สินที่จำนำมีราคา เท่าใด ผู้ค้ำประกันก็หลุดพ้นความรับผิดในหนี้ประธานไปเท่านั้น เป็นต้น
  • ความระงับสิ้นไปของสัญญาค้ำประกันได้แก่ หนี้ปรธานระงับแล้ว ตามมาตรา698 การค้ำประกันหนี้ที่เกิด ขึ้นในอนาคตไม่จำกัดเวลา ผู้ค้ำประกันอาจบอกเลิกสัญญาในหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปได้ ตามมาตรา 699 , เมื่อหนี้มีำกำหนดชำระเวลาที่แน่นอน แต่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้น ตามมาตรา 700 หรือกรณีผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ ตามมาตรา 701 วรรคสอง เป็นต้น

ผู้ค้ำประกันจะได้รับการคุ้มครองดังนี้
1.การค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไข (เช่น ความเสียหายที่เกิดจากการค้ำประกันบุคคล) ต้องกำหนดรายละเอียดของหนี้และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน รวมทั้งจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไว้เฉพาะหนี้ตามสัญญานั้น (จะต้องระบุว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบใน วงเงินไม่เกินเท่าไร)
2. กำหนดให้ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นโมฆะ (สัญญาค้ำประกันที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมไม่มีผลใช้บังคับ ผลคือเจ้าหนี้จะต้องไปเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน จนก็กระทั่งลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้วจึงค่อยมีเรียกร้องกับผู้ค้ำประกัน)
3. กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการค้ำประกันที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติลักษณะค้ำประกันเป็นภาระแก่ผู้ค้ำประกันเกินสมควร ให้ข้อตกลงนั้นมีผลเป็นโมฆะ (จะกำหนดสัญญานอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ ที่ทำให้ผู้ค้ำประกันเสียเปรียบไม่ได้)
4. เพิ่มเติมหน้าที่ของเจ้าหนี้ให้ต้องแจ้งผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด และผลกรณีเจ้าหนี้มิได้บอกกล่าว และกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้ที่ถึงกำหนดได้ (ผลคือเวลาลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกัน ภายใน 60 วัน เพื่อที่ผู้ค้ำฯจะชำระหนี้ เพื่อไม่เกิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัด โดยที่ผู้ค้ำฯไปเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้ภายหลัง หากไม่แจ้งผู้ค้ำไม่ต้องรับผิดชอบ)
5. ให้ผู้ค้ำประกันได้รับประโยชน์จากการที่เจ้าหนี้กระทำการใดๆ อันมีผลเป็นการลดจำนวนหนี้ให้แก่ลูกหนี้ด้วย รวมทั้งกำหนดให้ข้อตกลงที่เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ำประกันเป็นโมฆะ (ถ้าเจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้ก็มีผลถึงผู้ค้ำประกัน แต่ถ้าเป็นผลเสียแก่ผู้ค้ำจะใช้บังคับไม่ได้ )
6. กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้อันมีกำหนดเวลาแน่นอน หากเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ และห้ามกำหนดข้อตกลงไว้ล่วงหน้าให้ผู้ค้ำประกันยินยอมที่จะเป็นประกันหนี้นั้นต่อไป แม้ว่าเจ้าหนี้จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้แล้ว (ผลคือ การขยายเวลาการชำหนี้ หรือการปรับโครงสร้างหนี้จะต้องขอความยินยอมจากผู้ค้ำฯ มิฉะนั้นผู้ค้ำจะพ้นจากการเป็นผู้ค้ำทันที)

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า