ค่าล่วงเวลา

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 61

          มาตรา 61  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

การทำงานล่วงเวลา หรือทำงานพิเศษนั้น ตามกฎหมายออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. การทำงานล่วงเวลาในวันปกติ
2. การทำงานในวันหยุด
3. การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
ซึ่งจะขออธิบายการคิดคำนวณเป็นข้อๆ ดังนี้
1. การทำงานล่วงเวลา การทำงานที่เกินจากการทำงานเวลาปกติไปแล้ว พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 61 กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 1.5 (หนึ่งเท่าครึ่ง) ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง เช่น จากตัวอย่างข้างต้นเราได้มาแล้วว่า อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงปกติของเรานั้นอยู่ที่ 41.67 บาทต่อชั่วโมงดังนั้นหากเราอยากรู้ว่า วันนี้เราทำงานล่วงเวลาไปแล้ว 1 ชั่วโมง จะได้ค่าทำงานล่วงเวลาเท่าไร ก็สามารถคำนวณง่ายๆโดย ( อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงปกติ คูณด้วย 1.5 เท่า) คุณ จำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา สำหรับกรณีตัวอย่างข้างต้น อัตราทำงานล่วงเวลาในวันปกติจะอยู่ที่ (41.67 X 1.5) X 1 ชั่วโมง = 62.50 บาท
หมายเหตุ :
การทำงานล่วงเวลา นอกจากจะมีกฎหมายกำหนดค่าจ้างเอาไว้แล้ว ยังมีกฎหมายกำหนดวิธีการจัดการที่ลูกจ้างต้องรู้อีกด้วย เช่น – ห้ามนายจ้างบังคับลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ยกเว้นลูกจ้างยินยอม (มาตรา 24) – การทำงานล่วงเวลาเกินจากเวลาปกติ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างพักก่อนไม่น้อยกว่า 20 นาทีก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลา (มาตรา 27 วรรค 4) – งานบางอย่าง บางหน้าที่ อาจไม่ได้รับค่าจ้างทำงานล่วงเวลา ที่ 1.5 เท่าตามมาตรา 61 แต่จะได้รับเพียง 1 เท่าเพียงเท่านั้น เช่น ลูกจ้างที่ทีหน้าที่กระทำการแทนนายจ้าง , งานเปิดปิดประตูระบายน้ำ ฯลฯ (มาตรา 65)
2. การมาทำงานในวันหยุด ประเด็นนี้ขอแยกออกเป็นข้อย่อย 2 ประเภทคือ พนักงานรายเดือน และพนักงานรายวัน เนื่องจาก
– พนักงานรายเดือน หรือพนักงานประจำ ถือเป็นลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด นั้นคือตามกฎหมายแล้ว วันเสาร์อาทิตย์ที่ลูกจ้างหยุด ถือว่าได้รับค่าจ้างตามกฎหมายอยู่แล้ว
– พนักงานรายวัน พนักงานประเภทนี้ วันไหนมาทำงานจึงได้ค่าจ้าง วันไหนไม่มาทำงาน ไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนั้นพนักงานรายวันถือว่าเป็นพนักงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด
ดังนั้นการคำนวณค่าทำงานล่วงเวลา สำหรับพนักงานสองประเภทนี้ จึงต่างกันออกไป ดังนี้
2.1 กรณีพนักงานรายเดือน หรือพนักงานประจำ ให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า (มาตรา 62 (1)
2.2 กรณีพนักงานรายวัน ให้ ให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า (มาตรา 62 (2) สำหรับประเด็นที่ดิฉันยกกฎหมายมาอ้างอิงนั้น เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด เพราะฉะนั้นไม่ต้องมานั่งถกเถียงกันว่า บริษัทนี้ให้ที่ 1 เท่า บริษัทนั้นให้ที่ 2 เท่า เพราะพื้นฐานที่ให้อยู่เพียง 1 เท่าเท่านั้นหากบริษัทใดให้มากกว่า 1 เท่าแล้ว ถือว่าเป็นคุณต่อลูกจ้าง และไม่ได้ถือว่าผิดแต่อย่างใด
3. การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด หลังจากที่ทำงานในวันหยุดครบ 8 ชั่วโมงไปแล้ว หรือหลังเวลาเลิกงานในวันหยุดไปแล้ว หากต้องทำงานล่วงเวลา การคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดจะคล้ายๆกับการคำนวณการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ เพียงแต่เปลี่ยนจาก 1.5 เท่า เป็นอัตราชั่วโมงละไม่น้อยกว่า 3 (สาม) เท่า เท่านั้นเองคะ (มาตรา 63)

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า