ผู้สืบสันดาน คือ

ผู้สืบสันดานคือ ผู้สืบสันดานที่มีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับมรดกของเจ้ามรดก ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะทายาทชั้นบุตร ผู้สืบสันดานที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

1. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
2. บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง
3. บุตรบุญธรรม
1. ผู้สืบสันดานประเภทแรกคือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ในทางกฎหมายถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอไม่ว่ามารดาจะมีคู่สมรสหรือไม่ ส่วนปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นเสมอก็คือ หากเจ้ามรดกที่เป็นชายแล้วต้องพิจารณาว่าผู้สืบสันดานนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกที่เป็นชายหรือไม่ ทั้งนี้พิจารณาจากข้อเท็จจริงว่าบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากจดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายถือว่าผู้สืบสันดานเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกที่เป็นชายมีสิทธิรับมรดก และถือว่าชายนั้นเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสผู้สืบสันดานก็เป็นบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรนอกกฎหมายของเจ้ามรดกที่เป็นชายไม่มีสิทธิรับมรดก และถือว่าชายนั้นไม่มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย 

บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายคือ บุตรที่เกิดจากบิดามารดที่จดทะเบียนสมรสกัน ส่วนบุตรนอกกฎหมายคือ บุตรที่เกิดมาโดยที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ไม่ต้องกังวลใจที่เราเป็นบุตรนอกกฎหมายของบิดา กฎหมายยังมีบทบัญญัติที่จะให้บุตรประเภทนี้ได้เปลี่ยนแปลงสถานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ 3 แนวทางดังนี้ 

1) เมื่อบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลังจากที่มีบุตรกันแล้ว บุตรนอกกฎหมายก็จะเปลี่ยนแปลงสถานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย นับแต่วันที่บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน 
2) เมื่อบิดาไม่ประสงค์จะจดทะเบียนสมรสกับมารดาแต่ต้องการให้บุตรนอกกฎหมายเปลี่ยนแปลงสถานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ทำได้โดยบิดาไปจดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร มีผลเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนับแต่วันที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร 
3) เมื่อบิดาไม่ยอมรับว่าเป็นบุตร บุตรสามารถฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตรได้ บุตรนอกกฎหมายเปลี่ยนแปลงสถานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด 

2. ผู้สืบสันดานประเภทที่สองคือ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง บุตรนอกกฎหมายประเภทนี้ก็เป็นลูกในไส้เหมือนกับประเภทแรกเหมือนกันเพียงแต่บิดามารดาไม่ได้สมรสกัน ซึ่งถือว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายของบิดา และถือว่ามีประเด็นปัญหาขึ้นสู่ศาลมากเหมือนกันคือ ข้อโต้แย้งว่าบุตรประเภทนี้มีสิทธิรับมรดกของบิดาที่ตายไหมในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม กฎหมายก็บัญญัติว่ามีสิทธิได้รับแม้ว่าสถานะในขณะนั้นจะเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง ที่ว่ารับรองนั้นไม่เหมือนกับกรณีที่บิดาไปจดทะเบียนรับรองบุตรที่เป็นการรับรองโดยนิตินัยทำให้เปลี่ยนแปลงสถานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีนี้เป็นการที่บิดาได้มีการรับรองโดยพฤตินัยสถานะของบุตรก็ยังคงเป็นบุตรนอกกฎหมายอยู่เพียงแต่มีสิทธิที่จะได้รับมรดกของบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2537
สำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่ถูกต้องของเอกสาร เมื่อไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักเพียงพอมาสืบหักล้างจึงต้องถือว่า สำเนาทะเบียนบ้านนั้นถูกต้องแล้ว ผู้ตายได้รับรองว่า ต. เป็นบุตรของตน ต.จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อ ต. ตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ต. จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแทนที่ ต. 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2528
ผู้สืบสันดานโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1643 หมายถึง ผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม 
สรุปได้ว่า การรับมรดกแทนที่กฎหมายให้สิทธิเฉพาะผู้สืบสันดานโดยตรงเท่านั้นคือเฉพาะลูกในไส้ไม่ว่าจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง แต่ไม่รวมถึงลูกนอกไส้คือบุตรบุญธรรมเพราะ ไม่ใช่เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้ที่ตนเข้ารับมรดกแทนที่

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
– มรดกจะตกทอดแก่ทายาทเมื่อใด
สิทธิของคู่สมรสในการรับมรดก
– คดีแบ่งมรดก
– เหตุเพิกถอนผู้จัดการมรดก
พินัยกรร

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า