หมายศาล ได้รับแล้วควรทำอย่างไร…..

          ประเภทของหมายศาล มีหลายประเภท ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยแยกเป็นหมายในคดีแพ่งและอาญา ดังต่อไปนี้

1. หมายศาลในคดีแพ่ง

  1. หมายเรียกและคำฟ้อ หรือหมายเรียกคดีแพ่งสามัญ เป็นหมายเรียกในคดีแพ่ง หมายความว่าท่านถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้ว เมื่อท่านได้รับหมายดังกล่าวแล้ว ท่านจึงต้องทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน หรือ สามสิบวัน แล้วแต่เป็นการรับหมาย หรือปิดหมายไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ได้บัญญัติเอาไว้ว่า

“เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน”

            ดังนั้น เมื่อท่านที่ได้รับหมายเรียกและคำฟ้องจึงมีหน้าที่ต้องทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมาย มิฉะนั้นแล้วถือว่าท่านขาดนัดยื่นคำให้การ  และจะทำให้ท่านหมดสิทธิในการต่อสู้คดี   อันมีผลให้ท่านต้องแพ้คดี หรือต้องรับผิดตามที่โจทก์ได้ฟ้อง ถึงแม้ว่าท่านจะมีข้อต่อสู้อื่นที่ทำให้ท่านไม่ต้องรับผิดก็ตาม

2. หมายเรียกคดีมโนสาเร่ หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยาก จำเลยสามารถยื่นคำให้การต่อศาลในวันนัดพร้อม หรือวันนัดสืบพยานโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๙๓

      มาตรา ๑๙๓  ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็วและออกหมายเรียกไปยังจำเลย ในหมายนั้นให้จดแจ้งประเด็นแห่งคดีและจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาที่เรียกร้อง และข้อความว่าให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน และให้ศาลสั่งให้โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณานั้นด้วย

               ในวันนัดพิจารณา เมื่อโจทก์และจำเลยมาพร้อมกันแล้ว ให้ศาลไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาทนั้นก่อน

               ถ้าคู่ความไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันได้และจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การ ให้ศาลสอบถามคำให้การของจำเลย โดยจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วยวาจาก็ได้ ในกรณียื่นคำให้การเป็นหนังสือให้นำมาตรา ๑๙๑ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีให้การด้วยวาจา ให้ศาลบันทึกคำให้การรวมทั้งเหตุการณ์นั้นไว้ อ่านให้จำเลยฟัง แล้วให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

          คดีไม่มีข้อยุ่งยาก ได้แก่ คดีซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนแน่นอนตามตั๋วเงินซึ่งตั๋วนั้นถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน หรือคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาเป็นหนังสือซึ่งปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นสัญญาแท้จริงมีความสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย

      3 .หมายเรียกพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ (คดีแพ่ง) หรือที่เรียกว่า ท่านมีหน้าที่จะต้องจัดส่งเอกสารหรือวัตถุพยานไปยังศาลตามรายการและวันที่ที่ระบุไว้ในหมายดังกล่าว หากท่านไม่ยอมส่งพยานเอกสารหรือพยานวัตถุตามคำสั่งเรียกอาจถูกฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 170 อันมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งในหลังหมายหรือคำสั่งเรียกนั้น จะมีคำเตือนดังกล่าวไว้

          หากท่านไม่มีเอกสารหรือวัตถุพยานที่ระบุไว้ในคำสั่งเรียกนั้นไว้ในความครอบครอง ท่านก็ไม่ต้องจัดเอกสารหรือวัตถุพยานนั้นไปยังศาลแต่ท่านจะต้องทำหนังสือชี้แจงถึงเหตุดังกล่าวไปยังศาล เพื่อให้ศาลและผู้ขอหมายเรียกพยานได้รับทราบต่อไป

          4.หมายเรียกพยานบุคคล เป็นหมายเรียกที่ท่านจะต้องไปศาลตามวันและเวลาที่กำหนดไว้ในหมายเรียก เพื่อเบิกความเป็นพยานต่อศาล หากขัดขืนไม่ไปศาลตามหมายเรียกดังกล่าว ศาลอาจออกหมายจับเอาตัวกักขังได้ ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 111(2) และอาจถูกฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 170 โดยมาตราดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

        หากท่านมีเหตุขัดข้องไม่สามารถไปศาลตามวันและเวลาที่ระบุไว้ในหมาย ท่านก็จะต้องทำหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลได้ ซึ่งในกรณีนี้หากผู้ที่ขอหมายเรียกร้องประสงค์จะให้ท่านเบิกความเป็นพยานต่อศาลอีก ก็จะต้องส่งหมายเรียกมายังท่านอีกครั้งหนึ่ง

            5. หมายบังคับคดี เป็นหมายบังคับให้ท่านปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล และจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ เมื่อจำเลยได้รับหมายบังคับคดีดังกล่าวแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องปฎิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา มิฉะนั้นโจทก์สามารถนำเจ้าพนักงานบังคับคดีมาทำการยึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ไปได้หรือบังคับการใด ๆ ตามคำพิพากษาต่อไป

2. หมายในคดีอาญา

         2.1 หมายนัดไต่สวนมูลฟ้อง  หากท่านประสงค์จะสู้คดี หรือประนีประนอมยอมความ ท่านจะต้องรีบนำคดีไปปรึกษาทนายความที่ท่านเชื่อถือและไว้ใจ เพื่อให้ข้อมูล และแต่งตั้งทนายความเพื่อให้ทนายความไปทำการซักค้านพยานโจทก์ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องแทนท่าน      โดยท่านไม่จำเป็นต้องไปศาลตามวันที่และเวลาที่ระบุไว้แต่อย่างใด แต่หากท่านจะไปศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง

          2.2 หมายเรียกจำเลย  เป็นหมายของศาลออก หลังจากที่ศาลใต่สวนมูลฟ้องแล้ว  ศาลมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับรับฟ้องไว้  ศาลก็จะกำหนดวันนัดพร้อมเพื่อให้จำเลยไปให้การแก้ข้อกล่าวหาในคดี  เมื่อท่านได้รับหมายเรียกนี้แล้วในวันนัดท่านจะต้องไปศาล  เพื่อให้การแก้ข้อกล่าวหาแห่งคดี   หากไม่ไปศาลก็จะออกหมายจับ

หมายเรียกผู้ต้องหา จะต้องทำอย่างไร

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin