- 1. ที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 139
- 2. ที่ดินอาจมีได้ประเภท เช่น ที่ดินมีกรรมสิทธิ์ สังเกตุได้จากที่ดินจะมีโฉนดที่ดิน หรือที่ดินมีเพียงสิทธิครอบ ครอง สังเกตุได้จากที่ดินจะมีเอกสารสำคัญแสดงสิทธิการครอบครองคือ น.ส.3 , น.ส.3 ก หรือ ส.ค.1 หรือเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประชาชนไม่อาจอ้างสิทธิใดๆ ต่อสู้กับรัฐได้เลย เป็นต้น
- 3. ที่ดินมีกฎหมายรับรองอยู่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งมีบทบัญญัติต่างๆ เช่น เรื่องการออกเอกสารสิทธิ เกี่ยวกับที่ดินโดยเจ้าพนักงาน , การรังวัดสอบเขต หรือการมีสิทธิในที่ดินของคนต่างด้าว เป็นต้น
- 4. สิทธิต่างๆ เกี่ยวกับที่ดินที่อาจเกิดข้อพิพาทกันได้ เช่น กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ทรัพย์สิน ลักษณะ 2 , สิทธิครอบครองปรากฎอยู่ในบรรพ 4 ลักษณะ 3 , ภาระจำยอมตามบรรพ 4 ลักษณะ 4, สิทธิอาศัย ตามบรรพ 4 ลักษณะ 5 , สิทธิเหนือพื้นดิน ตามบรรพ 4 ลักษณะ 6 , สิทธิเก็บกิน ตาม บรรพ 4 ลักษณะ 4 , ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ ตามบรรพ 4 ลักษณะ 8 เป็นต้น
- 5. ที่ดินนั้นมีแดนกรรมสิทธิ์โดยมีทั้งเหนือพื้นดินและใต้พื้นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1335 เช่นเจ้าของที่ดินนอกจากจะมีสิทธิทำบ้านบนดินแล้ว ยังสามารถทำห้องใต้ดินได้เท่าไม่เกินเขตที่ดินของ ตนได้ด้วย เป็นต้น
- 6. ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกนั้นย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น ตามมาตรา 1308
- 7. บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต(ไม่รู้ว่าเป็นเขตที่ดินของผู้อื่นแล้ว) ท่านว่าเจ้าของที่ดิน เป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นๆ แต่จะต้องใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง ตามมาตรา 1310 วรรคหนึ่ง ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นก็คือ มูลค่าของที่ดินที่เพิ่มขึ้นจากแต่ก่อนเมื่อเทียบระหว่างที่ดินเปล่าๆ กับที่ดินเมื่อปลูกบ้านแล้วมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอีกเท่าใด เจ้าของที่ดินก็จะต้องจ่ายมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นได้เท่านั้น
จำนวนคนดู
4,206