สินสมรส คือ อะไร

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ❯ มาตรา 1474

มาตรา 1474  สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

สินสมรส  แบ่งเป็น 3  ประเภท 
1.   ทรัพย์ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส  เช่น  เงินเดือน  โบนัส 
2.   ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยพินัยกรรม  โดยระบุว่าให้เป็นสินสมรส
3.   ทรัพย์สินที่เป็นกำไรสุทธิ  หรือดอกผลของสินส่วนตัว

     สิทธิการจัดการทรัพย์สิน  กฎหมายถือให้ผู้เป็นเจ้าของมีอำนาจจัดการทรัพย์สินส่วนตัวได้โดยลำพัง   สำหรับสินสมรส  ถือเป็นทรัพย์สินร่วมกันคนละครึ่ง  จึงให้สองฝ่ายจัดการร่วมกัน
 
สามีภรรยาสามารถแยกกันจัดการสินสมรสได้  4 กรณี  คือ
1.   เมื่อคู่สมรสตกลงแยกกันจัดการสินสมรสโดยการทำสัญญาก่อนสมรสไว้ก่อน
2.   เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกเป็นคนไร้ความสามารถ  อีกฝ่ายมีสิทธิร้องขอให้ศาลแยกสินสมรสได้
3.   เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย  จะมีผลให้สินสมรสแยกกันตามกฎหมาย
4.   เมื่อมีการร้องขอต่อศาลให้แยกสินสมรสเพราะสาเหตุ  เช่น  อีกฝ่ายทำความเสียหายแก่สินสมรส  ไม่อุปการะ  เลี้ยงดู  เป็นหนี้สินมากมาย  หรือขัดขวางการจัดการสินสมรสโดยไม่มีเหตุอันควรและเมื่อมีการแยกสินสมรส  ออกจากกันแล้ว  สินสมรสส่วนที่แยกออกมาจะถือเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย  รวมถึงทรัพย์สิน  เช่น  มรดก  ดอกผลที่ได้มาหลังการแยกสินสมรสด้วย
เรียบเรียงโดย นายกิตติคุณ นุมานิต

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สินส่วนตัว
จดทะเบียนรับรองบุตร
จดทะเบียนสมรส
เหตุฟ้องหย่า
การสิ้นสุดแห่งการสมร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า