- คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรง
งาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
1.1 คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้าง
แรงงาน หมายถึง คดีฟ้องร้องระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยอ้างว่า
ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานที่ทั้งสองฝ่ายได้
ตกลงกันไว้และ หมายถึง คดีที่ฟ้องร้องกันระหว่างนายจ้างและ
ลูกจ้างโดยอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้กำหนด
ไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน
1.2 คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพ
การจ้าง หมายถึง คดีที่ฟ้องร้องกันระหว่างนายจางและลูกจ้าง หรือระหว่าง
นายจ้างกับสหภาพแรงงานโดยอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
เกี่ยวกับสภาพการจ้าง
ตัวอย่าง
นายจ้างไม่ปรับค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามที่นายจ้างกับสหภาพแรงงานได้
เจรจา ตกลงและกำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
- คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง
แรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์กฎหมายว่าด้วยกายจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน กฎหมายว่าด้วย
การประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน - กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เช่น นายจ้างร้องขอศาลเพื่อให้นายจ้างเลิก
จ้างลูกจ้าง ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์มาตรา 52 - คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง
แรงงาน ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ตามของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน - คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อ
พิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ทั้งนี้ให้รวมถึงมูล
ละเมิดระหว่างลูกจ้างกับลูกจ้างจากการทำงานในทางการที่จ้างด้วย 5.1 คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบ
เนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน
ได้แก่
การฟ้องร้องของนายจ้างหรือลูกจ้างโดยอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งจงใจหรือ
ประมาทเลินเล่อทำให้ฝ่ายที่ฟ้องร้องเสียหายตามความหมายของคำว่า “ละเมิด”
ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ความเสียหายนั้นจะต้องเกิดมาจาก 2
กรณีคือ สืบเนื่องจากข้อพิพาทแรง หรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้าง
แรงงาน
ตัวอย่าง
กรณีที่ลูกจ้างแจ้งข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง ได้มีการเจรจาตกลง มีการไกล่
เกลี่ย และลูกจ้างได้นัดหยุดงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ระหว่างการนัดหยุดงานนั้น
ลูกจ้างได้ปิดทางเข้าออกของสถานประกอบกิจการของนายจ้างซึ่งเป็นการกระทำที่
ไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ถือเป็นการละเมิด และนายจ้างได้ฟ้องร้องลูกจ้างที่ปิดกั้นดัง
กล่าวเพื่อให้ลูกจ้างเลิกการกระทำละเมิดเช่นว่านั้นหรือให้ลูกจ้างชดเชยค่าเสียหาย
แก่นายจ้าง
ข้อพิพาทแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานขอให้ศาลแรงงาน
ชี้ขาดตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์กฎหมายว่าด้วยแรงงาน
รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดหาแรงงานและคุ้มครอง
คนหางาน
- คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน
ตัวอย่าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.2553 มาตรา 7 ซึ่ง
กำหนดว่า “บรรดาคดีที่เกิดจากข้อพิพาทระหว่างผู้ว่าจ้างงานกับผู้รับงานไปทำที่
บ้านหรือทายาท หรือเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้อยู่ในอำนาจ
พิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน”