แต่งตั้งผู้จัดการมรดก ทำอย่างไร

ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก

ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ในลำดับแรก ประกอบด้วย
1. ผู้สืบสันดาน คือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม ของผู้ตาย

2. บิดามารดา ในกรณีของบิดา เฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก

.3. สามีหรือภริยา หรือคู่สมรสของผู้ตาย

หากไม่มีทายาทดังกล่าวข้างต้น ทายาทลำดัถัดไปจึงมีสิทธิได้รับมรดก และมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

4. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

5. พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน

6. ปู่ ย่า ตา ยาย

7. ลุง ป้า น้า อา

แต่งตั้งผู้จัดการมรดก ใช้เอกสารอะไรบ้าง

1. หลักฐานที่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น บัญชีเงินฝาก โฉนดที่ดิน หุ้น สลากออมสิน เป็น

2. หลักฐานที่ผู้ยื่นเกี่ยวพันกับผู้ตาย เป็นบุตร หรือบิดามารดา สามีภริยา คือสำเนาทะเบียนบ้าน บุตร หรือบิดามารดา หรือทะเบียนสมรส

3. หลักฐานเกี่ยวกับการตาย เช่น ใบมรณบัตร

4. หลักฐานเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ตาย ก่อนถึงแก่ความตาย เช่น สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย

5. หนังสือให้ความยินยอมของทายาท

6. บัญชีรายชื่อทายาทของผุ้ตายที่มีสิทธิได้รับมรดก

แต่งตั้งผู้จัดการมรดก มีขั้นตอนอะไรบ้าง

1. หลังจากเอกสารต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว ทนายความจะทำเป็นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกยื่นต่อศาล

2. หลังจากยื่นคำร้องแล้ว ศาลจะประกาศหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 30 วัน แล้วนัดไต่สวนหลังจากวันยื่นคำร้องประมาณ 45- 60 วัน

3. วันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องจะต้องนำเอาต้นฉบับเอกสารมาทั้งหมด มาสืบพยาน หรือไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

4. หลังจากไต่สวนคำร้องแล้ว ผู้ร้องจะได้คำสั่งขอเป็นผู้จัดการมรดก ประมาณ 3-14 วัน

5. หลังจากไต่สวนคำร้องแล้ว 30 วัน ผู้ร้องขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดได้

6. ขั้นตอนสุดท้าย ผู้ร้องนำคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เอกสารเกี่ยวทรัพย์มรดก หลักฐานการตาย และทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดก ไปยื่นขอรับมรดก

เรียบเรียง ทนายรุ่งเรือง ลาภรุ่งเรือง

สำนักงานทนายความ อธิวัฒน์ ช่อผูก

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin