พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่6)พ.ศ.2560 นั้นมีแนวคิดเรื่องการพิสูจน์เพื่อหาความจริงของเจตนา มากกว่าการใช้กฎหมายกำหนดเจตนา ซึ่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายประกอบด้วยข้อเท็จจริง 2 ส่วน คือ
“ข้อเท็จจริงที่เป็นเงื่อนไขแห่งการสันนิษฐาน” (basic fact) หมายความว่าการพิจารณาคดีนั้นจะต้องสืบสวนให้ได้ก่อนว่าบุคคลมีพฤติการณ์อย่างไร หลังจากนั้นจะดูที่ข้อเท็จจริงตามข้อสันนิษฐาน (Presumed Fact)หรือการกระทำที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิดนั้นเอง ดังนั้นพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษใหม่ จึงเป็นการนำหลักการเหล่านี้มาใช้ โดยมีการแก้ไข 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ
1. “ข้อสันนิษฐานไม่เด็ดขาด” (Rebuttable Presumption) มาใช้แทน “ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดที่ไม่อาจโต้แย้งได้” (Irrebuttable Presumption) เพื่อให้จำเลยสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงหักล้างข้อสันนิษฐานได้
2. “การลงโทษให้ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด” (Proportionality of Punishment) คือ โทษที่ผู้กระทำความผิดควรได้รับนั้น ต้องเท่ากับความเสียหายที่ผู้กระทำความผิดได้ก่อให้เกิดขึ้นข้อที่ 1 ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด กรณีถูกสันนิษฐานว่า “มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย”บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษเดิม เมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยวามียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และสืบได้ว่าจำเลยมียาเสพติดดังกล่าวตามปริมาณที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้ถือว่า การกระทำของจำเลยเป็นการเป็นการกระทำเพื่อจำหน่ายทันที โดยพนักงานอัยการโจทก์ไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์การกระทำของจำเลยว่าเป็นการกระทำเพื่อจำหน่ายหรือไม่ (คือไม่ต้องหาหลักฐานอย่างอื่นมาประกอบอีกก็ได้ เพียงจำนวนยาถึงตามที่กฎหมายกำหนดก็เป็นจำหน่ายเลย)ดังนั้นพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฉบับใหม่ จึงเปิดโอกาสให้จำเลยสามารถนำพยานหลักฐานมาหักล้างเพื่อให้ศาลวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อจำหน่ายหรือไม่ และหากศาลรับฟังพยานหลักฐานแล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่มีความผิดเพื่อจำหน่าย ก็จะลงโทษเพียงฐาน มียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง รวมถึงศาลอาจใช้ดุลยพินิจรอการลงโทษได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 เช่น จำเลยกระทำผิดเป็นครั้งแรก เป็นคนชรา พิการ หญิงมีครรภ์ ผู้เจ็บป่วยและเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งศาลจะตรวจสำนวนหรือรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติ เพื่อกำหนดโทษแก่จำเลยขั้นตอนการขอให้พิสูจน์ฐานความผิด ดำเนินการได้ดังนี้1.คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น หากจำเลยประสงค์จะขอสู้คดีว่าการกระทำของตนเป็นการกระทำเพื่อเสพ ไม่ใช่การกระทำเพื่อจำหน่าย ให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173/1 และมาตรา 229/1 (จะทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล) คือ ผู้ร้องต้องแสดงเหตุอันควรว่าไม่สามารถทราบถึงพยานหลักฐานนั้น หรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หรือเพื่อให้โอกาสจำเลยต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ โดยยกประโยชน์ในพระราชบัญญัติที่แก้ไขใหม่เป็นเหตุผลประกอบ โดยผู้ร้องต้องเตรียม
1.ทำคำแถลงหรือทำคำร้องพร้อมบัญชีระบุพยานหลักฐานนั้น
2.ทำสำเนาบัญชีพยานให้เพียงพอ ต่อศาล
3.ยื่นก่อนเสร็จสิ้นการพิจารณา โดยพยานหลักฐานที่จะนำมาสืบหักล้าง จะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุก็ได้ ซึ่งต้องระบุลงไปในบัญชีระบุพยาน