ขอตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ และผู้อยู่ในปกครอง
เด็กผู้เยาว์ที่บิดามารดาถึงแก่ความตายไปแล้ว อาจมีความจำเป็นต้องตั้งผู้ปกครอง เพื่อมาคุ้มครองดูแล ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นญาติของเด็ก ให้มาทำหน้าที่จนกว่าเด็กจะบรรลุนิติภาวะ
วิธีการตั้งผู้ปกครอง : เฉพาะโดยคำสั่งศาลเท่านั้น โดยมีบุคคลที่จะสามารถขอได้ ดังนี้
1 ญาติของเด็ก
2 อัยการ
3 บุคคลซึ่งพินัยกรรมระบุให้เป็นผู้ปกครอง
คุณสมบัติของผู้ปกครอง
1 บรรลุนิติภาวะ
2 ไม่เป็นบุคคลไร้ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
3 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
4 ไม่เป็นบุคคลที่ไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
5 ไม่เป็นบุคคลซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ หรือญาติสนิทของผู้เยาว์
6 ไม่เป็นบุคคลที่บิดาหรือมารดาห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง
สิทธิและหน้าที่
1 ผู้ปกครองต้องจัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน มิฉะนั้นศาลอาจสั่งถอนได้ และยังต้องทำบัญชีทรัพย์สินส่งต่อศาลปีละ 1 ครั้ง
2 ถ้ามีหนี้สินต่อกัน ต้องแจ้งต่อศาลก่อนลงมือทำบัญชีทรัพย์สิน
3 ผู้ปกครองเป็นผู้แทนของผู้เยาว์ตามกฎหมาย มีสิทธิเช่นเดียวกับบิดามารดา รวมทั้งอำนาจในการจัดการทรัพย์สิน
4 หากผู้เยาว์อายุเกิน 15 ปี การจัดการทรัพย์สินต้องปรึกษาผู้เยาว์ก่อน
5 ผู้อยู่ในปกครองไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้ปกครอง
6 ผู้อยู่ในปกครองไม่มีสิทธิใช้นามสกุลผู้ปกครอง
7 ผู้อยู่ในปกครองมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งหรือคดีอาญาผู้ปกครองได้
8 ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมต่อกัน
การสิ้นสุดของผู้ปกครอง
1 บรรลุนิติภาวะ หรือตาย
2 ล้มละลาย
3 ลาออก
4 กลายเป็นบุคคลไร้ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
4 ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่
5 ใช้อำนาจหน้าโดยมิชอบ
เมื่อความปกครองสิ้นสุดแล้ว ผู้ปกครองต้องรีบส่งมอบทรัพย์สินพร้อมทั้งบัญชีคืนให้ผู้อยู่ในปกครองโดยเร็ว หากนำเงินไปใช้ส่วนตัว ต้องเสียดอกเบี้ย 15% ต่อปี นับแต่วันที่นำเงินไปใช้