คดีอาญาที่ยอมความไม่ได้

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ❯

คดีอาญาคดีที่เกี่ยวกับความผิดและมีโทษซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่น ๆ ที่มีโทษทางอาญา ซึ่งโทษทางอาญามีอยู่ 5 ประการ คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สินโดย
คดีอาญาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ความผิดต่อแผ่นดิน เช่น คดีลักทรัพย์ คดีฉ้อโกงประชาชน เป็นต้น  
2. ความผิดต่อส่วนตัว เช่น คดียักยอกทรัพย์ คดีฉ้อโกง เป็นต้น

ความผิดอาญาแผ่นดิน คือความผิดที่กระทำแล้วมีผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำโดยตรง และมีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ดังนั้นรัฐจึงต้องดำเนินการเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แม้ผู้ที่ถูกกระทำนั้นจะไม่ติดใจเอาความหรือดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดแล้วก็ตาม

สำหรับความผิดอาญาประเภทยอมความไม่ได้นั้น จะเป็นคดีที่มีความผิดต่อแผ่นดินเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ เป็นส่วนได้เสียของประชาชนจะยอมความกันไม่ได้ เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาย ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายโดยในการดำเนินคดีแม้ว่าผู้เสียหายจะไม่เอาผิดกับผู้กระทำผิดแล้ว เมื่อแจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้วก็ไม่อาจจะยอมความหรือถอนคำร้องทุกข์ได้ ต้องดำเนินคดีต่อไป คดีดังกล่าวจึงไม่สามารถที่จะถูกระงับจากการที่ผู้เสียหายไม่อยากเอาผิดได้
ยกตัวอย่างเช่น คดีบุกรุกในเวลากลางคืนหรือบุกรุกโดยมีอาวุธขู่เข็ญซึ่งเป็นเหตุฉกรรจ์กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวไว้ การบุกรุกในเวลากลางคืนหรือมีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อแจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้วก็ไม่อาจจะยอมความหรือถอนคำร้องทุกข์ได้ ต้องดำเนินคดีต่อไป

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า