ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๓๖
บุตรชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่เกิดปัญหามีเฉพาะว่าบุตรที่เกิดมาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาหรือไม่ ซึ่งจะมีผลไปถึงอำนาจปกครองของบิดา ค่าอุปกรณ์เลี้ยงดูและการรับมรดกส่วนมรดกนั้นไม่มีปัญหา กล่าวคือ กฎหมายบัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น
- บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามีได้ 3 ประการคือ
- บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ทำการสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายบุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ต่อมาบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังบิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรของบิดา
- นอกจาก 3 กรณีดังกล่าวแล้วจะมีบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาอีกไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าบิดา แสดงพฤติการณ์รับรองว่าเป็นบุตร (ไม่ได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร) เช่น ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูให้ใช้ชื่อสกุล เป็นต้น บุตรดังกล่าวมีสิทธิรับมรดกของบิดาเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ต่างกันแต่ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย เช่น บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
2. สิทธิ หน้าที่ ของบิดามารดาและบุตร
- บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ในกรณีที่บิดาไม่ปรากฎ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุล
- บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์
- บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
- บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา อำนาจปกครองหรือสิทธิของบิดามารดา ได้แก่
- กำหนดที่อยู่ของบุตร
- ทำโทษบุตรตามสมควร เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
- ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
- เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่น ๆ ซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
- ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้ กล่าวคือลูก หลาน (ลูกของลูก) จะฟ้องพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และทวดของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ ซึ่งแต่ก่อนเรียกคดีประเภทนี้ว่า “อุทลุม”
จำนวนคนดู
7,688