ผู้จัดการมรดก

  • 1. เรื่องการจัดการมรดกนั้น มีกฎหมายบัญญัติรับรองอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ว่าด้วย มรดก ลักษณะ 4 ว่าด้วยเรื่อง “วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก” มีอยู่ทั้งหมด 3 หมวด คือ หมวด 1 ผู้จัดการมรดก, หมวด 2 การรวบรวมจำหน่ายทรัพย์มรดกเป็นตัวเงินและการชำระหนี้กับแบ่งปันทรัพย์มรดก และหมวด 3 การ แบ่งมรดก
  • 2. เมื่อบุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย หรือกรณีกฎหมายถือว่าถึงแก่ความตาย บรรดาทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และ ความรับผิดต่างๆ ของเขาที่มีอยู่ก่อนตายจะกลายเป็นมรดก ตกทอดแก่ทายาท ตามมาตรา 1599 และมาตรา 1600 ซึ่งจะต้องมีผู้จัดการมรดกดังกล่าว เพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป
  • 3. ผู้จัดการมรดกนั้นอาจมีได้หลายกรณี เช่น ผู้จัดการมรดกที่ทายาทตกลงยินยอมตั้งกันเอง หรือกรณีผู้เป็นเจ้า มรดกได้ทำพินัยกรรมตั้งไว้ รวมทั้งกรณีที่ทายาทไม่อาจตกลงกันได้ และไม่มีพินัยกรรมของผุ้เป็นเจ้ามรดกแต่ง ตั้งผุ้จัดการมรดกไว้จึงอาจแต่งตั้งโดยคำสั่งศาลได้ ตามมาตรา 1711
  • 4. ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมอาจตั้งขึ้นได้ (ตามมาตรา 1712)
  • (1) โดยผู้ทำพินัยกรรมเอง
  • (2) โดยบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรม (หมายความว่า เจ้ามรดกได้ระบุชื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคน ให้ไปเลือกผู้ที่จะมาเป็นผู้จัดการมรดกอีกทีหนึ่ง)
  • 5. ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (ตามมาตรา 1713 วรรคหนึ่ง)
  • (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
  • (2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือเต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
  • (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ
  • การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดในพินัยกรรมพินัยกรรมนั้น และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชย์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนา ของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร ตามมาตรา 1713 วรรคสอง
  • ดังนั้น การจะร้องขอต่อศาลเพื่อตั้งผู้จัดการมรดกก็ไม่จำเป็นต้องมีเฉพาะทายาทอยางเดียว อาจเป็นบุคคล อื่นนอกจากทายาทซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียก็ได้ “ผู้มีส่วนได้เสีย” หมายถึง บุคคลที่จะได้รับประโยชน์หรือเสีย ประโยชน์เนื่องจากการจัดการมรดกครั้งหนี้ ซึ่งได้แก่ สามีหรือภรรยาที่ไม่ชอบต้วยกฎหมาย แต่ได้อยู่กินด้วย กันมาเป็นเวลานานมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิรวม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785- 3787/2552) ,เจ้าหนี้กรณีที่เจ้ามรดกไม่มีทายาทและผู้จัดการมรดกเลย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2545,5644/2545)
  • ส่วนกรณีทายาทนั้น ต้องเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามมาตรา 1629 ด้วย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2551)
  • 6. ถ้าศาลตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อการใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่จำต้องทำบัญชีทรัพย์มรดก เว้นแต่จะจำเป็นเพื่อการ นั้น หรือศาลสั่งให้ทำ ตามมาตรา 1714
  • 7. ผู้ทำพินัยกรรมจะตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ได้ ตามมาตรา 1715 วรรคหนึ่ง
  • ถ้าผู้จัดการมรดกหลายคน แต่ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นบางคนไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมี ผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียว ผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการมรดกได้โดยลำพัง แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่ หลายคน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้ เว้นแต่จะมีข้อ กำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ตามมาตรา 1715 วรรคสอง
  • แต่ตามมาตราข้างต้นใช้บังคับแต่เฉพาะผู้จัดการมรดกที่ได้ระบุตั้งไว้โดยพินัยกรรมเท่านัน ไม่รวมถึง กรณีผู้จัดการมรดกหลายคนที่ศาลได้แต่งตั้งขึ้น ซึ่งถ้าหากผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งตาย ผู้จัดการมรดก ทั้งหลายที่เหลือหมดอำนาจจัดการมรดกทันที ต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม (คำพิพากษาศาล ฎีกาที่ 6857/2553)
  • 8. หน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว ตามมาตรา 1716
  • 9. ในเวลาใดๆ ภายในหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย แต่ต้องเป็นเวลาภายหลังที่เจ้ามรดกตายแล้ว 15 วัน ทายาท หรือผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง จะสอบถามไปยังผู้ที่ถูกตั้งเป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมว่าจะรับเป็นผู้ จัดการมรดกหรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 1717 วรรคหนึ่ง
  • ถ้าผู้ที่ได้รับแจ้งความมิได้ตอบรับเป็นผู้จัดการมรดกภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันแจ้งความนั้น ให้ถือว่าผู้นั้น ปฏิเสธ แต่การรับเป็นผู้จัดการมรดกนั้น จะทำภายหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะ อนุญาต ตามมาตรา 1717 วรรคสอง
  • 8. หน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว ตามมาตรา 1716
  • 9. ในเวลาใดๆ ภายในหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย แต่ต้องเป็นเวลาภายหลังที่เจ้ามรดกตายแล้ว 15 วัน ทายาท หรือผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง จะสอบถามไปยังผู้ที่ถูกตั้งเป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมว่าจะรับเป็นผู้ จัดการมรดกหรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 1717 วรรคหนึ่ง
  • ถ้าผู้ที่ได้รับแจ้งความมิได้ตอบรับเป็นผู้จัดการมรดกภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันแจ้งความนั้น ให้ถือว่าผู้นั้น ปฏิเสธ แต่การรับเป็นผู้จัดการมรดกนั้น จะทำภายหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะ อนุญาต ตามมาตรา 1717 วรรคสอง
  • 10. บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ (ตามมาตรา 1718)
  • (1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
  • (2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไรความสามารถ
  • (3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
  • 11. ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งที่ชัดแจ้งแล้วหรือคำสั่ง โดยปริยายแห่งพนัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ตามมาตรา 1719
  • 12. ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812 , 819 , 823 แห่งประมวล กฎหมายนี้โดยอนุโลม และเมื่อเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ใช้มาตรา 831 บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 1720 ซึ่งมาตราทั้งหลายดังกล่าวเป็นบทบัญญัติในเรื่องตัวแทน โดยถือเสมือนหนึ่งว่าผุ้จัดการมรดกนี้เป็นตัวแทนของ เจ้ามรดกผู้วายชนม์ ซึ่งอาจต้องรับผิดต่อทายาทหรือบุคคลภายนอก หากผู้จัดการมรดกกระทำการผิดหน้าที่ ของตนนั้นเอง
  • 13. ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดก เว้นแต่พินัยกรรม หรือทายาทโดยจำนวนข้างมาก จะได้กำหนดให้ไว้ ตามมาตรา 1721 ดังนั้น โดยหลักผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิรับหรือไม่มีสิทธิเรียกร้องค่า ตอบแทนที่ตนได้เข้าดำเนินการจัดการมรดกแต่อย่างใด
  • 14. ถ้ามีพยานหลายคน ทายาทเหล่านั้นมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันจนกว่าจะได้แบ่งมรดกกัน เสร็จแล้ว และให้ใช้มาตรา 1356 ถึงมาตรา 1366 แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับ เพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติ แห่งบรรพนี้ ตามมาตรา 1745
  • 15. การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขาย ทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่้างทายาท ตามมาตรา 1750 วรรคหนึ่ง
  • ถ้าการแบ่งปันมิได้เป็นไปตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญาจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ เว้นแต่จะมี หลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ใน กรณีเช่นนี้ให้นำมาตรา 850 , 852 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยประนีประนอมยอมความมาใช้บังคับโดย อนุโลม ตามมาตรา 1750 วรรคสอง

หน้าที่ของทนายความคดีจัดการมรดก

  • 1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
  • 2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีจัดการมรดกมรดก อาจต้องมีเอกสารหลักฐานหรือหนังสือสัญญาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และบางกรณีอาจต้องมีพยานเอกสารมา แสดงในการสืบพยานในศาลด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เช่น การตั้งผู้จัดการ มรดกไว้ในพินัยกรรม เป็นต้น
  • 3. ตรวจสอบสิทธิ,หน้าที่ ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นมรดกและทรัพย์สินของเจ้ามรดกที่ได้มาหลังจากเจ้า มรดกถึงแก่ความตายแล้ว เช่น เงินประกันชีวิต หรือบำเหน็จบำนาญตกทอด เป็นต้น ซึ่งเงินดังกล่าวนำ กฎหมายว่าด้วยมรดกมาเทียบเคียงใช้ด้วย รวมถึงคำนวณยอดหนี้ ค่าเสียหายที่ตกทอดเป็นมรดกโดยรวม ทั้งหมด หรือกรณีที่เกิดจากการที่ผู้่จัดการมรดกทำผิดหน้า่ที่ด้วย
  • 4. ค้นหาข้อกฎหมาย ค้นคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูก ความ
  • 5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ
  • 6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อ ประกอบการตัดสินใจของลูกความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4928/2562

โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขอยืมที่ดินพิพาทเพื่อไปกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงถือสิทธิครอบครองที่ดินแทนโจทก์ กับทำหนังสือมอบอำนาจให้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนขายคืนแก่โจทก์ภายใน 1 ปี นับแต่วันจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 ต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 โอนขายที่ดิน และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินตามที่ตกลงกันไว้ โดยโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาจะซื้อขายที่ดินกันจริง แต่เพื่อนำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวถือว่าโจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 จะนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการกู้ยืมเงินแก่จำเลยที่ 2 และโจทก์เบิกความตอบทนายความจำเลยที่ 1 ถามค้านรับว่า เงินที่ได้จากการจำนอง 4,500,000 บาท โจทก์นำไปซื้อแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายธนาคาร ก. จำนวน 3,000,000 บาท ชำระค่าที่ดินที่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ซื้อจาก พ. โดยมีชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ในใบคำขอซื้อเช็ค ตรงกับบันทึกท้ายหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 เขียนด้วยลายมือตนเองให้โจทก์ มีข้อความว่า “นำเงินที่ได้จากการจำนองที่ดิน 3,000,000 บาท ไปชำระค่าซื้อที่ดิน เนื้อที่ 58 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ที่ลงทุนร่วมกัน” และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงเขียนด้วยลายมือตนเองให้โจทก์มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจาก พ. และ ด. โดยโจทก์เป็นผู้ชำระเงินให้แก่ผู้จะขาย 2,750,000 บาท และชำระด้วยแคชเชียร์เช็คให้แก่ธนาคาร ก. จำนวนเงิน 3,000,000 บาท สนับสนุนให้เห็นว่าการจำนองที่ดินพิพาทนั้นเป็นความประสงค์ของโจทก์ที่ต้องการเงินไปชำระค่าที่ดินที่ซื้อร่วมกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองธนาคาร ส. สาขาแหลมฉบัง จำนวนเงิน 4,500,000 บาท ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเพื่อให้โจทก์นำเช็คไปชำระหนี้จำนองแก่จำเลยที่ 2 ดังนี้ โจทก์ย่อมทราบดีว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้จำนอง โจทก์อาจนำหนังสือมอบอำนาจและเช็คดังกล่าวไปชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 2 ได้เอง ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ก็ยอมรับว่าประสงค์จะชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ด้วย พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวบ่งชี้ชัดแจ้งว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 นิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันโจทก์เสมือนหนึ่งว่าโจทก์เป็นผู้จำนองเอง การที่โจทก์มาฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เพื่อที่โจทก์ไม่ต้องชำระหนี้จำนองแก่จำเลยที่ 2 นั้น ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2562

การขอตั้งผู้จัดการมรดก การเป็นผู้จัดการมรดก หรือการคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้อง ทายาทของผู้ร้องไม่อาจเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ได้ ผู้ร้องถึงแก่ความตายก่อนยื่นอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค ๖ พิพากษาให้จำหน่ายคดีของผู้ร้อง ทนายผู้ร้องและผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องย่อมหมดสภาพจากการเป็นทนายผู้ร้องและผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้อง และถือว่าล่วงเลยเวลาที่ทนายผู้ร้องจะจัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ที่ผู้ร้องมอบหมายแก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว จึงไม่มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องอีกต่อไป การที่ผู้ร้องฎีกาโดยทนายผู้ร้องเป็นผู้กระทำการแทนและลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกา และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ร้องมาเป็นการไม่ชอบ

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า