ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา

ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดกฎหมายกำหนดการจ่าย ดังต่อไปนี้1 การคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน ให้จ่ายเดือนละไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง2 ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ให้จ่ายเดือนละไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง3 กรณีเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าจ้างภายใน 3 วันนับแต่วันที่เลิกจ้าง ตามมาตรา 704 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นอยู่กับรัฐกำหนด  นายจ้างจะหักค่าจ้างไม่ได้ เว้นแต่1 ชำระภาษีเงินได้ที่ลูกจ้างจะต้องจ่าย2 ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงาน3 ชำระหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์4 เงินประกันการทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย ในกรณีลูกจ้างเป็นผู้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง5 กองทุนเงินสะสม    โดยข้อ 2 – 5 จะหักได้ไม่เกิน 10 % และหักรวมกันไม่เกิน 1 ใน 5 ของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ เว้นแต่ลูกจ้างยินยอม นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง สำหรับวันลา ดังนี้ ตามมาตรา 57 58 591 ลาป่วย ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน2 ลาเพื่อทำหมัน ตามจำนวนวันที่มีสิทธิลา3 ลาเพื่อรับราชการทหาร ปีหนึ่งไม่เกิน 60 วัน4 ลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 45 วัน อัตราค่าจ้าง1 ค่าล่วงเวลา (OT) ของวันทำงานปกติ และค่าทำงานในวันหยุด ได้รับไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ของอัตราค่าจ้าง / ชั่วโมง ตามมาตรา 612 ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ ได้รับไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้าง / ชั่วโมง กรณีที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดนั้นอยู่แล้ว3 กรณีวันหยุดทีไม่ได้รับค่าจ้างจะได้รับเพิ่มเป็น 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงาน3 ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ได้รับไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราค่าจ้าง / ชั่วโมง4 ลูกจ้างทั้งชายและหญิง มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดเท่าเทียมกัน ในงานที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน คำพิพากษาศาลฏีกาที่น่าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7646/2542

    โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2539 ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2539 จึงขาดไป โจทก์ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนซึ่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดให้นับเป็นอย่างอื่น จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/6 วรรคท้าย ให้ถือว่า เดือนหนึ่งมี 30 วัน

    โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 37,500 บาท หารด้วย 30 เป็นค่าจ้างวันละ 1,250 บาท แต่เนื่องจาก ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ 56,250 บาท ซึ่งเท่ากับให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2539 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 จำเลยจึงต้องชำระค่าจ้างเพิ่มอีก 2 วัน คิดเป็นเงิน 2,500 บาท แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้ แต่คำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2540 มาด้วยแล้ว จึงเห็นสมควรให้จำเลยจ่ายค่าจ้างส่วนนี้ให้โจทก์ด้วย

หลักกฎหมายตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 56 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดดังต่อไปนี้

(1) วันหยุดประจำสัปดาห์ เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างรายวันรายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(2) วันหยุดตามประเพณี

(3) วันหยุดพักผ่อนประจำปี

มาตรา 57 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยตามมาตรา 32 เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทำงาน

ในกรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาเพื่อทำหมันตามมาตรา 33 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลานั้นด้วย

มาตรา 58 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหารตามมาตรา 35 เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินหกสิบวัน

มาตรา 59 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน

มาตรา 61  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

มาตรา 62  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามมาตรา 28 มาตรา 29 หรือมาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา ดังต่อไปนี้

(1) สำหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(2) สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

มาตรา 63  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

มาตรา 68  เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานหมายถึงค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบและจำนวนชั่วโมงทำงานในวันทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย

มาตรา 69  เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณชั่วโมงทำงานล่วงเวลาในกรณีที่นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติเป็นสัปดาห์ ให้นับวันหยุดตามประเพณีวันหยุดพักผ่อนประจำปี และวันลา เป็นวันทำงาน

มาตรา 70 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมงหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง

(2) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้าง นอกจาก (1) ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

(3) ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และ ค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง

มาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ

(1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้

(2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน

(3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวโดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง

(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม

การหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา 70 เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

มาตรา 77 ในกรณีที่นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือมีข้อตกลงกับลูกจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามมาตรา 54 มาตรา 55 หรือการหักเงินตามมาตรา 76 นายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า