- หลักกฎหมาย
ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี ตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง - ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 3 ปีถึงยี่สิบปี ตามมาตรา 290 วรรคสอง
- ความผิดที่มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติในมาตรา 289 พอนำมาปรับใช้ได้ดังต่อไปนี้
- ผู้ใด
- (1) ทำร้ายบุพการี
- (2) ทำร้ายเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำรตามหน้าที่
- (3) ทำร้ายผู้ช่วยเจ้าเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้น จะช่วย หรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
- (4) ทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
- (5) ทำร้ายผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
- (6) ทำร้ายผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่น หรือ
- (7) ทำร้ายผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิด ความผิดอื่นของตน หรือ เพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ต้นได้กระทำไว้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2594/2562
ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 กับความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้ไฟ และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 เป็นความผิดคนละประเภทกันและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกันโดยอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ นอกจากนี้ยังเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ ซึ่งมีองค์ประกอบแห่งความผิดแตกต่างกันและเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกันสามารถแยกเจตนาในการกระทำความผิดออกจากกันได้
ดังนั้นแม้จำเลยกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวโดยเจตนาเพื่อฆ่าผู้อื่นก็ตาม การกระทำของจำเลยเป็นคนละกรรมกัน ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 กรณีจึงไม่ใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน แล้วโจทก์นำการกระทำกรรมเดียวกันนั้นมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี โจทก์ย่อมมีอำนาจแยกฟ้องเป็นคนละคดีได้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยและศาลมีคำพิพากษา ลงโทษพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไปแล้ว คดีย่อมเสร็จเด็ดขาดไปเฉพาะกระทงความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ เท่านั้น ส่วนกระทงความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ยังหาได้มีการวินิจฉัยในเนื้อหาความผิดแต่อย่างใด จะถือว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็จขาดในความผิดฐานนี้ไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น เป็นคดีนี้ได้อีก ไม่เป็นฟ้องซ้ำ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(4)