ค่าโอนที่ดิน

หากต้องการโอนบ้านหรือที่ดินให้กับคนในครอบครัว ต้องดูก่อนว่าคนนั้นมีความสัมพันธ์อย่างไรกับเรา ซึ่งกฎหมายได้กำหนดค่าใช้จ่ายในการโอนให้แต่ละคนไม่เท่ากัน กล่าวคือ

1. กรณีโอนให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย

          ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ ลูกที่เกิดระหว่างพ่อแม่จดทะเบียนสมรส เมื่อพ่อแม่ต้องการโอนบ้าน โอนที่ดินให้ จะมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ
  – ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน
               – ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาประเมิน  
    สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะได้รับการยกเว้น เมื่อพ่อแม่โอนบ้านหรือที่ดินให้ลูก ไม่ว่าจะคนเดียวหรือหลายคน แต่ละคนต้องมีมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท หากเกินที่กำหนด จะต้องเสียภาษี 5% ของมูลค่าอสังหาฯ เฉพาะส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาทนั้น เช่น ถ้าพ่อแม่โอนบ้านหรือที่ดินมูลค่า 25 ล้านบาท ให้ลูก จะได้รับการยกเว้นการคิดภาษีในส่วน 20 ล้านบาท แต่จะถูกคิดภาษี 5% ในส่วน 5 ล้านบาท เป็นต้น
 
2. กรณีโอนให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

          หากลูกคนนั้นเกิดระหว่างที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือพ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร เมื่อพ่อแม่ต้องการโอนบ้าน โอนที่ดินให้ จะมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ อยู่ 3 ประการ คือ
– ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน
– ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน  
– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
 
3. กรณีโอนให้แก่สามี-ภรรยา

          หากสามี-ภรรยา จดทะเบียนสมรส และต้องการโอนที่ดินให้แก่กัน โดยไม่ได้โอนในรูปแบบของมรดก จะเสียค่าใช้จ่าย ดังนี้
– ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน
– ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน  
– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
4. กรณีโอนให้ญาติพี่น้อง

          ญาติพี่น้อง ไม่ว่าจะพี่ ป้า น้า อา รวมถึงลูกบุญธรรม ลูกสะใภ้ ลูกเขย หากไม่ได้รับการโอนในรูปแบบของมรดก จะเสียค่าใช้จ่ายในการรับโอนที่ดิน-บ้าน คือ
– ค่าธรรมเนียมการโอน 2% จากราคาประเมิน แต่หากปู่ ย่า ตา ยาย โอนที่ดินให้หลานผู้สืบสันดานแท้ ๆ จะเสียค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน
– ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%

          นอกจากนี้ในการโอนทุกกรณียังมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ อีก เช่น ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท, ค่าพยาน 20 บาท, ค่าอากรคู่ฉบับ 5 บาท
 กรณีโอนมรดก

          ถ้าโอนบ้านหรือที่ดินในรูปแบบของมรดก จะเสียเพียงค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนมรดกเท่านั้น ซึ่งหากผู้รับมรดกเป็นผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ) หรือระหว่างคู่สมรส จะเสีย 0.5% จากราคาประเมิน แต่หากเป็นญาติพี่น้อง ลูกบุญธรรม จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมิน

          ในส่วนของค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้ฯ ไม่ต้องเสีย แต่จะมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย เช่น กรณีโอนที่ดินมรดกจะมีค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท, ประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท, ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ 50 บาท

อย่างไรก็ตาม กรณีโอนมรดก ผู้รับมรดกจะต้องเสียภาษีมรดกด้วย ตามอัตรานี้
 – หากมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีในอัตรา 10% เฉพาะส่วนที่เกินจากมูลค่า 100 ล้านบาทนั้น เช่น
หลาน ได้รับบ้านมรดกราคา 110 ล้านบาท จากป้าที่เสียชีวิตไปแล้ว จะต้องเสียภาษีมรดก ส่วนที่เกินจากมูลค่า 100 ล้านบาท ซึ่งก็คือ 10 ล้านบาท x 10% = 1 ล้านบาท
 – หากผู้รับมรดกเป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทวด หรือผู้สืบสันดานคือ ลูก หลาน เหลน โหลน ลื้อ อัตราภาษีจะต่ำลงมาเหลือ 5% เช่น
ลูก ได้รับมรดกที่ดินจากพ่อ มูลค่า 105 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีมรดก ส่วนที่เกินมา มูลค่า 5 ล้านบาท x 5% = 250,000 บาท
  – ถ้าสามีหรือภรรยา คนใดคนหนึ่งเสียชีวิต แล้วอีกฝ่ายได้รับมรดกเป็นบ้านหรือที่ดิน หากสามี-ภรรยาจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับมรดกจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
 กรณีโอนสำหรับการซื้อ-ขาย

          การซื้อ-ขายบ้านและที่ดิน ไม่ว่ากับญาติพี่น้อง หรือบุคคลทั่วไป ต่างมีค่าใช้จ่ายในการโอน 5 อย่างเหมือนกันทั้งหมด คือฅ
 – ค่าธรรมเนียมการโอน
                         – ค่าจดจำนอง
                         – ค่าอากรแสตมป์
                         – ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
                         – ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

1. ค่าธรรมเนียมการโอน

          ปกติคิด 2% ของราคาประเมิน แต่เนื่องจากตอนนี้รัฐบาลต้องการกระตุ้นให้มีการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น และเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โรค COVID-19 จึงได้ปรับลดค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 0.01% จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยมีเงื่อนไขคือ

  • เฉพาะการซื้อ-ขายที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด เพื่ออยู่อาศัย มูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท 
  • ซื้อจากผู้จัดสรรที่ดิน หรือผู้ประกอบการที่ขอจดทะเบียนอาคารชุด ดังนั้นต้องเป็นบ้านใหม่เท่านั้น กรณีบ้านมือสอง คอนโดมือสอง หรือปลูกสร้างบ้านเอง จะไม่ได้รับสิทธิ์
  • ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย
  • ต้องโอนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564
    • ดังนั้น หากซื้อ-ขายบ้านราคา 2 ล้านบาท จากเดิมเสียค่าธรรมเนียมการโอน 40,000 บาท จะลดเหลือ 2,000,000 x 0.01% = เสียค่าธรรมเนียมการโอน 200 บาท
    • สำหรับการซื้อ-ขายบ้านพร้อมที่ดิน ที่มีมูลค่ามากกว่า 3 ล้านบาท หรือซื้อ-ขายเฉพาะที่ดิน ค่าธรรมเนียมการโอนยังคงคิด 2% ตามเดิม ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงจ่ายกันคนละครึ่งหนึ่ง

2. ค่าจดจำนอง

          กรณีซื้อ-ขาย โดยจดจำนอง จะเสียค่าจดจำนองด้วย ซึ่งปกติคิด 1% ของมูลค่าจำนอง แต่ปี 2563-2564 ได้ปรับลดลงเหลือ 0.01% เช่นกัน ตามเงื่อนไขคือ

  • เฉพาะการซื้อ-ขายที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด เพื่ออยู่อาศัย มูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท 
  • ซื้อจากผู้จัดสรรที่ดิน หรือผู้ประกอบการที่ขอจดทะเบียนอาคารชุด ดังนั้นต้องเป็นบ้านใหม่เท่านั้น กรณีบ้านมือสอง คอนโดมือสอง หรือปลูกสร้างบ้านเอง จะไม่ได้รับสิทธิ์
  • ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน  
  • ต้องโอนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564
แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า