ทำและต่อวีซ่า visa extension

1. การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (Transit Visa) สำหรับคนต่างแดนที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในประเทศ เพื่อเดินทางผ่านราชอาณาจักร เล่นกีฬา หรือเป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร ระยะเวลาอาศัยอยู่ได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน
 2. การตรวจลงตราสำหรับคนต่างแดนที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร (Tourist Visa) สำหรับคนต่างแดนที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว ระยะเวลาอาศัยอยู่ได้ครั้งละ 60 วัน 
3. การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) สำหรับคนต่างแดนที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ การติดต่อหรือประกอบธุรกิจ การศึกษา ดูงาน และฝึกอบรมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะมีระยะเวลาอาศัยอยู่ได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน 
4. การตรวจลงตราประเภททูต (Diplomatic Visa) สำหรับคนต่างแดนที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในประเทศ โดยจำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูตหรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ระยะเวลาอาศัยอยู่ได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน 
5. การตรวจลงตราประเภทราชการ (Official Visa) สำหรับคนต่างแดนที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในประเทศ โดยจำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ และผู้ร้องจะต้องถือหนังสือเดินทางราชการหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ ระยะเวลาอาศัยอยู่ได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน 
6. การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี (Courtesy Visa) สำหรับคนต่างแดนที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในประเทศ โดยจำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเพื่อการอื่นนอกจากการเข้ามาประจำการในราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติหน้าที่การทูต หรือกงสุล หรือราชการ ระยะเวลาอาศัยอยู่ได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน 
7. การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเพื่อการพำนักในราชอาณาจักรระยะยาว สำหรับคนต่างแดนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป เข้ามาเพื่อพักผ่อน โดยระยะเวลาอาศัยอยู่ได้ 1 ปี จากที่ได้อ่านกันมาแล้วจะเห็นว่าประเทศไทยเรานั้นมีการแบ่งประเภทของวีซ่าเป็น 7 ประเภทหลักๆ แต่จะมีย้อยกเว้นสำหรับคนต่างชาติบางสัญชาติ ที่สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า หากอยู่ในประเทศที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว หรือประเทศที่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรากับประเทศไทย

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า