รับบังคับคดี สืบทรัพย์
บริษัท อธิวัฒน์ ลอว์เฟิร์ม จำกัด ให้บริการสืบทรัพย์ บังคับคดี ภายหลังมีคำพิพากษา หาทรัพย์สินของลูกหนี้ และยึด หรืออายัด ทรัพย์สินของลูกหนี้ออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ เช่น ที่ดิน เงินฝาก รถยนต์ ทรัพย์สินอื่นๆที่ยึดได้ตามกฏหมายเพื่อมาชำระให้กับเจ้าหนี้
ขั้นตอนการสืบทรัพย์และบังคับคดี ทั่วประเทศ
- 1. ขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์สิน หรืออายัดทรัพย์สินลูกหนี้ ในอันดัลแรก
- 2. สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยการสืบค้นจากสำนักงานที่ดินในพื้นที่ใกล้เคียงกับภูมิลำเนาของลูกหนี้
- 3. เมื่อเจอทรัพย์สินลูกหนี้แล้ว จะดำเนินการตั้งเรื่องยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ ต้อกรมบังคับคดีเพื่อดำเนินการรอการขายทอดตลาด
- 4. เมื่อยึดแล้ว เข้าสู่กระบวนการขายทอดตลาด เมื่อขายได้แล้วก็จะได้รับชำระหนี้เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้แก่เจ้าหนี้ต่อไป
บริษัท อธิวัฒน์ ลอว์เฟิร์ม จำกัด และ สำนักงานทนายความ อธิวัฒน์ ช่อผูก ประกอบด้วย
1. นายอธิวัฒน์ ช่อผูก
2. นายอมรชัย อมรส่งเจริญ
3. นายกิตติคุณ นุมานิต
4. นายรุ่งเรือง ลาภรุ่งเรือง
5. นางสาวสุรีย์ธรรม ยูปานนท์
6. นายวีระวุฒิ สวาทสุข
7. นายบวรพัฒน์ ปัญญวัตปฤศนัย
ขั้นตอนการยึดทรัพย์บังคับคดี
เมื่อศาลมีคำพิพากษาและได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะต้องดำเนินการออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลย โดยเมื่อหมายบังคับคดีถูกส่งไปยังกรมบังคับคดี โจทก์มีหน้าที่จะต้องไปตั้งเรื่องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีแบ่งเป็น การยึดและการอายัด
การยึด ได้แก่ ยึดที่ดิน, บ้าน, อาคาร, รถยนต์, หุ้น, สังหาริมทรัพย์ เป็นต้น –
การอายัด ได้แก่ อายัดเงินฝากธนาคาร, เงินเดือน (กรณีเอกชน, รัฐวิสาหกิจ) สิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอก
หลักฐานที่ต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในการตั้งเรื่อง
1. หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์ (ใช้แบบฟอร์มของกรมบังคับคดี)
2. บัตรประชาชน, หนังสือรับรองบริษัทของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณี โจทก์เป็นบริษัท)
3. หลักฐานแสดงสถานะของจำเลย, หนังสือรับรองบริษัท, หนังสือทะเบียนราษฎร
4. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลย เช่น โฉนดที่ดิน, สัญญาซื้อขาย, สัญญาจำนอง, หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด, ทะเบียนบ้าน, คู่มือการจดทะเบียนรถยนต์, ใบหุ้น และอื่น ๆ
5. กรณีอายัดเงินฝากธนาคาร เช่น เลขบัญชีธนาคาร, ประเภทบัญชี, ชื่อธนาคาร, อายัด เงินเดือน เช่น ชื่อสถานที่ทำงาน, อัตราเงินเดือน, จำนวนเงินที่ขออายัด, อายัดสิทธิ เรียกร้อง เช่น สัญญาเช่า, สิทธิการเช่า, สิทธิเก็บกิน, ค่าชดเชย, ค่าทดแทนโดยการขอ อายัดจะต้องมีข้อมูลและเอกสารเพียงพอที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายให้ ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องสืบหาให้พร้อมเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้
6. ค่าธรรมเนียมการยึดและการอายัด
7. ระยะเวลาการยึดเมื่อตั้งเรื่องในวันใด และมีหลักฐานครบถ้วน ในวันรุ่งขึ้นสามารถนำ เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ได้ทันที
8. ระยะเวลาการอายัดจะใช้เวลาในการพิมพ์หมายอายัด 2 วันทำการ รวมทั้งการ ตรวจสอบหลักฐานด้วย เมื่อหมายอายัดพิมพ์เสร็จโจทก์สามารถนำส่งได้เอง หรือจะ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำส่งบุคคลภายนอกก็ได้ การยึดทรัพย์อสังหาริมทรัพย์โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลย
ในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ โดยจะต้องส่งหลักฐานเพิ่มเติมในวันยึด คือ
1. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย หรือหนังสือรับรองนิติบุคคล ซึ่งจะต้องรับรองไว้ไม่ เกิน 1 เดือน
2. แผนที่การเดินทางไปยังที่ตั้งของทรัพย์ที่ยึด
3. ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่ยึด
4. ราคาประเมินที่ดิน, ห้องชุด ที่เจ้าพนักงานรับรอง
5. ค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาด 2,000 บาท
6. รายชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง 4 ทิศ