เงื่อนไขการฟ้องล้มละลาย
ตามกฎหมายล้มละลายกำหนดเงื่อนไขการฟ้องล้มละลายได้ คือ
-กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท
-นิติบุคคล
เป็นเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
-ลักษณะของหนี้
หนี้นั้นต้องเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและเข้าเงื่อนไขว่าลูกหนี้“มีหนี้สินล้นพ้นตัว”
ระยะเวลาเท่าใด จึงจะพ้นสภาพการเป็นบุคคลล้มละลาย
1 . ในกรณีบุคคลธรรมดาที่มิใช่บุคคลล้มละลายทุจริต จะมีระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย เว้นแต่บุคคลนั้นได้เคยถูกพิพากษาให้ล้มละลายมาก่อนแล้ว และยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี ให้ขยายเวลาเป็น 5 ปี หรือบุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตให้ขยายเวลาเป็น 10 ปี
2. เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี ให้ปลดจากการล้มละลาย โดยผลของกฎหมายนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 81/1 ทันที เว้นแต่มีเหตุขัดข้องให้บุคคลล้มละลายติดต่อกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
3. เมื่อปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก็จะสามารถทำงานและทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติแต่ยังคงมีหน้าที่ในการช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายอยู่
การปลดล็อคจากล้มละลาย
สำหรับบุคคลล้มละลายที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าให้การและเข้าพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น เมื่อครบกำหนดเวลาก็จะถูกปลดจากการล้มละลายทันที โดยผลของกฎหมายซึ่งการปลดจากการล้มละลายนี้จะส่งผลให้บุคคลล้มละลายนั้นหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวงด้วย ยกเว้นแต่หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร หรือหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการทุจริต ฉ้อโกงของบุคคลล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 81/1
คดีล้มละลายประกอบด้วย
- กรณีที่ต้องพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย
- วิธีพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
- การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
- ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ทัน
- การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ธรรมดา
- การขอรับชำระหนี้ คดีฟื้นฟูกิจการ
- เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
- การขอฟื้นฟูกิจการ