ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา

  • หลักกฎหมาย
    ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี ตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง
  • ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 3 ปีถึงยี่สิบปี ตามมาตรา 290 วรรคสอง
  • ความผิดที่มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติในมาตรา 289 พอนำมาปรับใช้ได้ดังต่อไปนี้
  • ผู้ใด
  • (1) ทำร้ายบุพการี
  • (2) ทำร้ายเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำรตามหน้าที่
  • (3) ทำร้ายผู้ช่วยเจ้าเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้น จะช่วย หรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
  • (4) ทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
  • (5) ทำร้ายผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
  • (6) ทำร้ายผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่น หรือ
  • (7) ทำร้ายผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิด ความผิดอื่นของตน หรือ เพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ต้นได้กระทำไว้

คำพิพากษาฎีกาที่ 2594/2562 

ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 กับความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้ไฟ และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 เป็นความผิดคนละประเภทกันและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกันโดยอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ นอกจากนี้ยังเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ ซึ่งมีองค์ประกอบแห่งความผิดแตกต่างกันและเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกันสามารถแยกเจตนาในการกระทำความผิดออกจากกันได้
ดังนั้นแม้จำเลยกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวโดยเจตนาเพื่อฆ่าผู้อื่นก็ตาม  การกระทำของจำเลยเป็นคนละกรรมกัน ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 กรณีจึงไม่ใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน แล้วโจทก์นำการกระทำกรรมเดียวกันนั้นมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี โจทก์ย่อมมีอำนาจแยกฟ้องเป็นคนละคดีได้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยและศาลมีคำพิพากษา ลงโทษพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไปแล้ว คดีย่อมเสร็จเด็ดขาดไปเฉพาะกระทงความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ เท่านั้น ส่วนกระทงความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ยังหาได้มีการวินิจฉัยในเนื้อหาความผิดแต่อย่างใด จะถือว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็จขาดในความผิดฐานนี้ไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น เป็นคดีนี้ได้อีก ไม่เป็นฟ้องซ้ำ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(4) 

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า