มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๑๕

มาตรา ๒๑๕  ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               ถ้าผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ บรรดาผู้ที่กระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิดนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบความผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๑๕

1. มั่วสุม
2. ตั้งแต่สิบคนขึ้นไป
ก. ใช้กำลังประทุษร้าย
ข. ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
ค. กระทำการให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง คำว่า “มั่วสุม” หมายความว่า ชุมนุมกัน

คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๗๒/๒๔๘๒
การมั่วสุมไม่จำต้องนัดหมายร่วมกันมาก่อน แต่การกระทำตอนใช้กำลังประทุษร้าย ต้องกระทำด้วยความประสงค์ร่วมกัน เช่น การเดินขบวนประท้วงใช้ความรุนแรงต่าง ๆ

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๘๗/๒๕๓๖
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยเข้าไปมีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำและสั่งการในการนัดหยุดงานของลูกจ้างประมาณ ๓๐๐คน การนัดหยุดงานดังกล่าว มิได้เป็นไปตามขั้น ตอนและเงื่อนไขดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงาน สัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ แต่เพื่อต่อรองบีบบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงาน เมื่อปรากฏว่า มีการปะทะและทำร้ายซึ่งกันและกันระ หว่างลูกจ้างที่นัดหยุดงานและลูกจ้างที่ประสงค์จะเข้าทำงาน เข้าออก ได้มีการขว้างปาวัตถุก้อนดินเข้าไปในโรงงาน เหตุเกิดริมถนนสาธารณะ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐาน ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองวรรคสอง ผู้กระทำคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ บรรดาผู้ร่วมกระทำผิดต้องรับโทษหนักขึ้นไปอีก ปัญหาว่า คำว่า มีอาวุธ คนอื่น ๆ ที่ร่วมในการมั่วสุมต้องรู้หรือไม่ และจะถูกลงโทษตามวรรคสองหรือไม่นั้น ขออธิบายว่า กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าผู้ร่วมกระทำความผิดต้องรู้ ดังนั้นแม้ผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่นไม่รู้ก็ต้องรับผิดด้วย แต่หากว่าเผอิญคนที่พกพาอาวุธไปนั้นได้ใช้อาวุธในการทำร้ายผู้อื่น การใช้อาวุธทำร้ายผู้อื่นเป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของผู้ที่ร่วมกระทำผิดคนอื่นจึงไม่ต้องรับผิดในผลแห่งความตายนั้นด้วย ส่วนในข้อหาพาอาวุธเข้าไปในเมืองตามมาตรา ๓๗๔ นั้นเอาผิดเฉพาะผู้พาอาวุธ ผู้ร่วมกระทำผิดไม่ต้องรับผิดส่วนนี้ด้วย คงรับเฉพาะวรรคสองแห่งมาตรา ๒๑๔ เท่านั้น

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า