พินัยกรรม

พินัยกรรม คือ การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน หรือในการต่างๆอันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว ดังนั้น การทำพินัยกรรมเป็นเรื่องที่เจ้ามรดกประสงค์จะยกทรัพย์สินของตนให้แก่ใครก็ได้ 

พินัยกรรม แบบธรรมดา มีหลักเกณฑ์ และข้อกำหนดที่กฎหมายบัญญัติไว้ อันพึงต้องปฏิบัติ 

1. ทำด้วยตนเอง และต้องมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ 
2. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือบุคคลวิกลจริต โดยคำสั่งศาลแล้ว แต่กรณีเป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ทำพินัยกรรมได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์
3. ไม่ได้ถูกข่มขู่ สำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล
4. ผู้เขียน ผู้พิมพ์ หรือพยานในพินัยกรรม ตลอดรวมถึงคู่สมรส จะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้
5.พินัยกรรมแบบพิมพ์ จะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่จะใช้ตราประทับหรือลงแกงไดไม่ได้
6. ต้องเป็นทำหนังสือ ลงวัน / เดือน / ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรม หากไม่ลงเป็นโมฆะ
7. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน
8. พยาน 2 คนต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ขณะนั้น 
9. การขูด ลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ มีผลให้ข้อความที่ตกเติมเท่านั้นไม่สมบูรณ์ ส่วนอื่นย่อมบังคับได้อยู่
10. ผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรม ต้องลงลายมือชื่อของตน ทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียน ถ้าเป็นพยานด้วย ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตน

คุณสมบัติของพยานในพินัยกรรม
1. บรรลุนิติภาวะ
2. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
3. ไม่เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้ หรือตาบอดทั้ง 2 ข้าง
4. พยานต้องลงลายมือชื่อเท่านั้น จะพิมพ์ลายนิ้วมือหรือลงแกงได หรือใช้ตราประทับไม่ได้

ตัวอย่าง ทรัพย์สินที่ “ไม่ใช่มรดก” เพราะเป็นทรัพย์สินที่เกิดขึ้น “หลัง” จากที่เจ้ามรดกตาย 
» เงินฌาปนกิจสงเคราะห์
» เงินชดเชย
» สิทธิในการได้รับจากเงินประกันชีวิต
» สิทธิเบิกเงินกู้ตามวงเงินของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร
» เงินบำนาญพิเศษ ตามพรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ 2494

หมายเหตุ
    หากผู้รับพินัยกรรมถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมย่อมตกไป และทรัพย์สินตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1698(1) และ 1699

กรณีพินัยกรรม ตกเป็นโมฆะ
» พินัยกรรมทำโดยผู้มีอายุไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ 
» พินัยกรรมที่ทำขึ้นอันขัดต่อบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือ ไม่ได้ทำตามแบบ
» การตั้งผู้รับพินัยกรรมไว้โดยมีเงื่อนไขว่า ให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินของเขาเอง โดยพินัยกรรมให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมหรือบุคคลภายนอกข้อกำหนด
» พินัยกรรมซึ่งกำหนดตัวบุคคล ซึ่งไม่ทราบตัวแน่นอนเป็นผู้รับพินัยกรรม
» พินัยกรรมระบุทรัพย์สินที่ยกให้ไม่ชัดเจนไม่อาจทราบได้แน่นอนได้ หรือให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งกำหนดให้มากน้อยตามแต่ใจเขา
» พินัยกรรมทำโดยผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ แต่ถ้าทำขึ้นโดยผู้ที่ถูกอ้างว่าเป็นคนวิกลจริต ซึ่งศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ พินัยกรรมจะเสียเปล่าต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าทำในเวลาที่วิกลจริต

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า