ผู้อนุบาล

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ❯ มาตรา 28

มาตรา 28  บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้
บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล การแต่งตั้งผู้อนุบาล อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล และการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาล ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้
คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

การยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

คนไร้ความสามารถ คือ บุคคลวิกลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ขาดความรู้สึกและขาดความรับผิดชอบอย่างรุนแรง เช่น โรคสมองฝ่อ สมองเสื่อมขั้นรุนแรง สมองพิการ จิตไม่ปกติ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ โรคพาร์กินสัน โรคชรา  อัมพาต เจ็บป่วยไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ไม่สามารถประกอบกิจการงาน และทำภารกิจส่วนตัวหรือช่วยเหลือตัวเองได้อย่างบุคคลทั่วไป ต้องมีคนคอยดูแลตลอดเวลาซึ่งต้องจัดให้อยู่ในความดูแลของผู้อนุบาล ตามมาตรา 28 

    ไม่สามารถทำการได้ด้วยตนเอง ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำการแทนทั้งหมด แต่บางนิติกรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามมาตรา 1574

    ส่วนมากจะเป็นพ่อ แม่ ลูก หรือคู่สมรส ผู้ซึ่งดูแลให้การักษาคนไร้ความสามารถ ถ้าไม่ได้เป็นผู้ดูแล ศาลก็มักจะไม่แต่งตั้งให้เป็นผู้อนุบาล

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 74/2511
คนอายุ 92 ปี ไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้สึกตัว พูดรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ถือเป็นคนวิกลจริตแล้ว

คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ ผู้ที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
2.1 เป็นบุคคลมีกายพิการ เช่น หูหนวก ตาบอด เป็นใบ้ แขนขาด ขาขาด  อัมพาต ซึ่งอาจเป็นมาโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง เช่น จากอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ ชราภาพ เป็นต้น
2.2 มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เช่น จิตผิดปกติ สมองพิการ แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกลจริต
2.3 ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ ใช้จ่ายเงินเกินกว่าฐานะอยู่เป็นประจำ ซึ่งทำให้ทรัพย์สมบัติร่อยหรอลงไปทุกวัน จนในที่สุดต้องหมดตัว
2.4 ติดสุรา เมาตลอดเวลา ติดฝิ่น เฮโรอีน จนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว    แต่ไม่ถึงกับวิกลจริต ต้องจัดอยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์ ตามมาตรา 32 

    ถ้าคนเสมือนไร้ความสามารถกระทำการไป โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ มีผลทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ แต่ผู้พิทักษ์ไม่สามารถกระทำการแทนได้ ตามมาตรา 34 

    ถ้าไม่มีคู่สมรส ให้พ่อแม่เป็นผู้พิทักษ์ ถ้ามีคู่สมรสให้คู่สมรสเป็นผู้พิทักษ์

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า