ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35
มาตรา 35 คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาจะยื่นเวลาใดก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือมิอนุญาตให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรประการใดถ้าคำร้องนั้นได้ยื่นในภายหลังเมื่อจำเลยให้การแก้คดีแล้ว ให้ถามจำเลยว่าจะคัดค้านหรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำแถลงของจำเลยไว้ ในกรณีที่จำเลยคัดค้านการถอนฟ้อง ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย
คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าจำเลยคัดค้าน ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย
ความผิดต่อส่วนตัว อันยอมความได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 ความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้อง หรือยอมความ ในเวลาใด ก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าจำเลยคัดค้าน ให้ศาลยกคำร้องของถอนฟ้องนั้นเสีย ในคดีความผิดอันยอมความได้เมื่อผู้เสียหายไม่ติดใจก็สามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ทำให้คดีอาญาระงับตาม ป.วิอาญา มาตรา 39
มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เมื่อคดีเลิกกันตาม มาตรา 37
(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิด เช่นนั้น
(6) เมื่อคดีขาดอายุความ
(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษม.96 ความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหายต้องแจ้งความร้องทุกข์เสียภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิด(รู้ตัวผู้กระทำความผิดไม่จำต้องรู้ชื่อตัว ชื่อนามสกุล และบ้านเลขที่จริง เพียงแค่รู้รูปพรรณสัณฐานก็เพียงพอร้องทุกข์ได้แล้ว)
การแจ้งความร้องทุกข์ คือ การกล่าวโทษต่อพนักงานตำรวจ หรือ พนักงานฝ่ายปกครองว่า มีการกระทำความผิด โดยมีเจตนาต้องการให้ผู้กระทำความผิดได้ รับโทษตามกฎหมาย ความผิดลหุโทษ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายระบุว่าเป็นความผิดอันยอมความได้ ดังนั้น แม้จะมีอัตราโทษที่เล็กน้อยก็ต้องถือว่าเป็นคดีความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ที่รัฐจะต้องดำเนินคดีจนเสร็จสิ้นกระบวนวิธีพิจารณา จะตกลงประนีประนอมยอมความยุติคดีกลางคันไม่ได้นั่นเอง.
ความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มีดังนี้
มาตรา ๒๗๒ เอาชื่อหรือยี่ห้อในทางการค้าของผู้อื่นมาใช้
มาตรา ๒๗๖ วรรคแรก ข่มขืนกระทำชำเราธรรมมาตรา ๒๗๘ กระทำอนาจาร(มิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล, ไม่ได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย, ไม่เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลหรือผู้อยู่ในความปกครอง)
มาตรา ๒๘๓ ทวิ วรรคแรกและวรรคสาม พาบุคคลอายุเกิน ๑๕ แต่ไม่เกิน ๑๘ ไปเพื่ออนาจาร
มาตรา ๒๘๔ พาหญิงไปเพื่อการอนาจาร
มาตรา ๒๐๙ วรรคแรก ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ
มาตรา ๓๑๐ วรรคแรก หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น
มาตรา ๓๑๑ หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นโดยประมาท
มาตรา ๓๒๒ เปิดเผยความลับในจดหมาย โทรเลข
มาตรา ๓๒๓ เปิดเผยความลับของผู้อื่นที่รู้มาโดยหน้าที่
มาตรา ๓๒๔ เปิดเผยความลับในทางอุตสาหกรรมหรือวิทยาศาสตร์
มาตรา ๓๒๖ หมิ่นประมาทคนเป็น
มาตรา ๓๒๗ หมิ่นประมาทคนตาย
มาตรา ๓๒๘ หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
มาตรา ๓๔๑ ฉ้อโกงธรรมดาม มาตรา๓๔๒ ฉ้อโกงประกอบด้วยเหตุพิเศษ
มาตรา ๓๔๔ หลอกลวงคนให้ไปทำงาน
มาตรา ๓๔๕ สั่งซื้ออาหารหรือเข้าอยู่ในโรงแรมโดยไม่มีเงิน
มาตราม ๓๔๖ ชักจูงให้เด็กเบาปัญญาขายของโดยเสียเปรียบ
มาตรา ๓๔๗ ฉ้อโกงในเรื่องประกันวินาศภัย
มาตรา ๓๔๙ ฉ้อโกงเจ้าหนี้จำนำ
มาตรา ๓๕๐ ฉ้อโกงเจ้าหนี้ธรรม
มาตรา ๓๕๒ ยักยอกทรัพย์ธรรม
มาตรา ๓๕๓ ยักยอกทรัพย์ในฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์แทนเขา
มาตรา ๓๕๔ ยักยอกทรัพย์ในฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์ตามคำสั่งศาล
มาตรา ๓๕๕ ยักยอกทรัพย์เก็บตก
มาตรา ๓๕๘ ทำให้เสียทรัพย์ตามธรรม
มาตรา ๓๕๙ ทำให้เสียทรัพย์ชนิดพิเศษ
มาตรา ๓๖๒ บุกรุกตามธรรม
มาตรา ๓๖๓ บุกรุกโดยย้ายเครื่องหมายอสังหาริมทรัพย์
มาตรา ๓๖๔ เข้าไปซ่อนตัวในอาคารคนอื่น