คดีล้มละลาย

คดีล้มละลาย – ขั้นตอนและเงื่อนไขในการฟ้องคดี

กว่าจะถึงขั้นฟ้องล้มละลาย
เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องคดีศาลจะทำการพิจารณาสืบพยานหลักฐานให้ได้ความจริง หากได้ความจริงว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นตัวตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดและมีเหตุอันควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลจะมีคำสั่ง“พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด”เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วถือว่าเป็นเพียงการเริ่มต้นของคดีล้มละลายซึ่งศาลจะยังไม่ได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในทันที
-ในกรณีดังกล่าวทำให้ลูกหนี้ที่รับราชการยังไม่ขาดคุณสมบัติการเป็นข้าราชการและยังคงรับราชการต่อไปได้จนกว่าศาลจะพิพากษาให้ล้มละลาย
-เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ว่าจะกรณีพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือเด็ดขาดศาลจะส่งหนังสือคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ

เงื่อนไขการฟ้องล้มละลาย
ตามกฎหมายล้มละลายกำหนดเงื่อนไขการฟ้องล้มละลายได้ คือ
-กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท
-นิติบุคคล
เป็นเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
-ลักษณะของหนี้ 
หนี้นั้นต้องเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและเข้าเงื่อนไขว่าลูกหนี้“มีหนี้สินล้นพ้นตัว”

ระยะเวลาเท่าใด จึงจะพ้นสภาพการเป็นบุคคลล้มละลาย
1. ในกรณีบุคคลธรรมดาที่มิใช่บุคคลล้มละลายทุจริต จะมีระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย เว้นแต่บุคคลนั้นได้เคยถูกพิพากษาให้ล้มละลายมาก่อนแล้ว และยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี ให้ขยายเวลาเป็น 5 ปี หรือบุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตให้ขยายเวลาเป็น 10 ปี
2. เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี ให้ปลดจากการล้มละลาย โดยผลของกฎหมายนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 81/1 ทันที เว้นแต่มีเหตุขัดข้องให้บุคคลล้มละลายติดต่อกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
3. เมื่อปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก็จะสามารถทำงานและทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติแต่ยังคงมีหน้าที่ในการช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายอยู่
การปลดล็อคจากล้มละลาย
 สำหรับบุคคลล้มละลายที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าให้การและเข้าพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น เมื่อครบกำหนดเวลาก็จะถูกปลดจากการล้มละลายทันที โดยผลของกฎหมายซึ่งการปลดจากการล้มละลายนี้จะส่งผลให้บุคคลล้มละลายนั้นหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวงด้วย ยกเว้นแต่หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร หรือหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการทุจริต ฉ้อโกงของบุคคลล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 81/1

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า