ภาระจำยอม

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ❯ มาตรา ๑๔๐๑

บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอม อันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น

การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอม 3 วิธี คือ

1 นิติกรรมสัญญา โดยการตกลงกันทำสัญญาซึ่งต้องอยู่ในบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 คือต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จึงจะสมบูรณ์ ส่วนค่าทดแทนแล้วแต่คู่สัญญาจะตกลงกัน
2 อายุความ ตามมาตรา 1382 คือการครอบครองปรปักษ์โดยความสงบ และเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ และได้ครอบครองติดต่อกันมาเป็นเวลา 10 ปี ไม่ว่าที่ดินมีโฉนด หรือ น.ส.3 ก็ตาม และไม่ต้องเสียค่าทดแทน
3 โดยผลแห่งกฎหมายกำหนด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1312 ให้ผู้ปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำโดยสุจริตมีสิทธิจดทะเบียนภาระจำยอมเหนือที่ดินที่รุกล้ำนั้น

การสิ้นไปแห่งภาระจำยอม

1 เมื่อภารยทรัพย์ และสามยทรัพย์ ตกเป็นเจ้าของคนเดียวกัน โดยเจ้าของสามารถขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมได้
2 ทางภาระจำยอมไม่ได้ใช้ 10 ปี ติดต่อกัน
3 เมื่อภาระจำยอมนั้นยังประโยชน์ให้แก่สามยทรัพย์นั้นน้อยมาก เจ้าของภารยทรัพย์ขอให้พ้นจากภาระจำยอมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แต่ต้องใช้ค่าทดแทน

ทางสาธารณะ : หมายความรวมถึง ทางสาธารณะที่ประชาชนใช้ร่วมกัน หรือทางสาธารณะโดยปริยาย ด้วย

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2196/2514
 เจ้าของรวมใช้ทางเดินผ่านที่ดินที่ตนเป็นเจ้าของรวม เป็นการใช้ตามอำนาจกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ แม้จะใช้ทางนั้นมาช้านานเท่าใด ก็ไม่ได้ภาระจำยอม

    การได้ทางภาระจำยอม จะต้องใช้ทางเดินโดยความสงบ เปิดเผย และเจตนาจะได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการใช้โดยพลการ แต่ถือเป็นการใช้ทางเดินโดย “ถือวิสาสะ” อาศัยความเกี่ยวพันในเครือญาติ หรือความสนิทสนมคุ้มเคยถือว่าเป็นกันเอง เท่ากับยอมรับอำนาจกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน ศาลฏีกาวินิจฉัยว่า ถือไม่ได้ว่าได้ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ตามมาตรา 1382 แม้จะใช้มากกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมตามมาตรา 1401

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2053/2522
 โจทก์ใช้ทางผ่านที่ดินจำเลยเดินออกไปสู่ถนนใหญ่กว่า 10 ปี โดยโจทก์ขออนุญาตจำเลย ไม่ได้ภาระจำยอมโดยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2545
 โจทก์และจำเลยทั้งสี่เป็นญาติพี่น้องกัน โจทก์ใช้ทางพิพาทตั้งแต่มีสภาพเป็นคันนา ต่อมาเมื่อมีการขุดบ่อเลี้ยงกุ้ง ทางพิพาทก็เปลี่ยนสภาพมาใช้เป็นคันบ่อเมื่อถึงฤดูทำนาก็จะเดินบนคันนา แต่ถ้านอกฤดูทำนาก็อาจเดินลัดที่นาได้ จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าจะเดินทางใดสุดแล้วแต่จะสะดวก โดยเฉพาะแต่ละคนสามารถเดินผ่านที่นาซึ่งกันและกันในลักษณะพึ่งพาอาศัยและถ้อยทีถ้อยอาศัยกันอันเป็นการสะท้อนถึงสภาพวิถีชีวิตที่แท้จริงของการอยู่ร่วมกันของคนชนบทว่าตามปกติแล้วจะใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านได้ โดยการถือวิสาสะอาศัยความเกี่ยวพันในทางเครือญาติหรือความคุ้นเคยเป็นประการสำคัญซึ่งเป็นการเอื้อเฟื้อเอื้ออาทรต่อกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสี่มากว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า