การขอฟื้นฟูกิจการ

หลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ (มาตรา 90/3และมาตรา 90/5)

 ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือไม่สามารถที่จะชำระหนี้ตามกำหนดได้
 ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ (เหตุอันสมควร เช่น ลูกหนี้ต้องรับภาระหนี้สิน
เพิ่มขึ้นเนื่องจากปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ หรือลูกหนี้ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุครั้งใหญ่
ซึ่งก่อให้เกิดหนี้ต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก หรือลูกหนี้ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวในภาค
ธุรกิจ ส่วนช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ เช่นวิธีการในการที่จะทำให้ลูกหนี้สามารถกลับสู่สภาวะ
ทางการเงินที่เป็นปกติได้เช่น การปรับโครงสร้างหนี้หรือปรับลักษณะของธุรกิจให้เหมาะสม
กับสภาวะเศรษฐกิจ)
 ลูกหนี้จะต้องไม่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
 ลูกหนี้ยังไม่ได้ถูกศาลหรือนายทะเบียนได้มีคำสั่งให้ยกเลิกหรือเพิกถอนทะเบียนนิติบุคคล
หรือมีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคล หรือนิติบุคคลเลิกกันด้วยเหตุอื่น
 หากศาลเคยมีคำสั่งยกคำร้องขอ ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
ของลูกหนี้ ห้ามมิให้ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการภายในระยะเวลา 6 เดือนนับ
แต่วันที่ศาลเคยมีคำสั่งยกคำร้องขอ ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟู
กิจการของลูกหนี้ (หากจะยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการใหม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 6 เดือน
ก่อน)

บุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ (มาตรา 90/4)

 เจ้าหนี้ซึ่งอาจเป็นคนเดียวหรือหลายคนรวมกัน และมีจำนวนหนี้แน่นอนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
 ลูกหนี้ต้องเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือ นิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดใน
กฎกระทรวง
 ธนาคารแห่งประเทศไทย เฉพาะลูกหนี้ที่เป็น

  • ธนาคารพาณิชย์
  • บริษัทเงินทุน
  • บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
  • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
     สำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะลูกหนี้ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์
     กรมการประกันภัยเฉพาะลูกหนี้ที่เป็นบริษัทประกันวินาศภัยหรือบริษัทประกันชีวิต
     หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการของลูกหนี้ตามที่กำหนดใน
    กฎกระทรวง
แชร์ข้อมูลได้ที่นี่
Share on Facebook
Facebook
0Pin on Pinterest
Pinterest
0Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า